INDICATORS ที่นิยมใช้กันทุกตลาด

     Indicators หมายถึง เครื่องมือตัวชี้วัดของราคาตลาดที่ใช้งานร่วมกับ Platform ต่างๆ ในการซื้อขาย เช่น MT4  ใช้ได้ทั้งในตลาดหุ้นซึ่งอาจจะมี Platform ที่แตกต่างกันออกไป แต่หลักการก็เหมือนกัน นิยมมากในตลาดฟอเร็กซ์ Forex ราคาทองคำ comodities อนุพันธ์ พันธบัตร ต่างๆ

     คุณลองนึกถึงมาตรวัดต่างๆในรถยนต์ก็จะเห็นภาพ Indicators จะแสดงผลพฤติกรรม สภาวะของตลาดในช่วงเวลานั้นๆ Indicators มีลักษณะที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่ที่การใช้งาน จะเป็นตัวช่วยตัดสินใจ หาจังหวะในการเข้าซื้อหรือขาย ในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลากหลาย เกิดขึ้นใหม่ๆเป็นระยะๆ แล้วแต่เทรดเดอร์ท่านไหนจะเลือกใช้ สามารถ download มาติดตั้งใน platform และดึงออกมาใช้ได้ตลอดเวลา สามารถที่จะ save เป็น template ที่เราใช้งานเป็นประจำได้ อย่างตัวผมเองก็จะ save ไว้หลาย template การที่จะเลือกว่าใช้ template ไหน อยู่ที่จะเข้า TimeFrame ไหน สินค้าอะไร เล่นสั้นหรือเล่นยาว

   ปัจจุบันผมแทบจะใช้น้อยมาก ยังไงผมขอให้รายละเอียดเฉพาะตัวที่เป็นนิยมกัน คุ้นตาคุ้นหู พอใช้หากินในตลาดได้ล่ะกันครับ อธิบายพอเข้าใจแบบง่ายๆ ลองดูตามรายละเอียดทางด้านล่าง ก็จะมี Moving Average , MACD , Stochastic , ADX , RSI , Volumes , Bollinger Bands , Parabolic Sar , Trend Line<---จริงๆไม่ใช่ indicator แต่แนะนำให้ใช้ครับ 

 

 ***รายละเอียดลองคลิ๊กเข้าไป ตาม Link ของแต่ละตัวที่แนบลิงค์ไว้ให้ครับ*** 

 

 MOVING EVARAGE

 

เป็นครื่องมือโครตยอดนิยมทั่วโลกของทุกตลาด ทั้งตลาดเงิน และตลาดทุน *ลักษณะการใช้ Moving Everage CLICK*

นักเทรดค่าเงิน เทรดทอง จะมือใหม่ มือโครตใหม่ มือเก่า มือเก๋า ก็ใชักันทุกคน ( ก็มันใช้หาเงินได้เป็นพอ :> ) 

มันคือ การคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบพื้นฐาน ทำได้โดยนำราคาของวันปัจจุบันและวันก่อนหน้านี้มารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนวันที่ต้องการเฉลี่ยทั้งหมด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเส้นค่าเฉลี่ยนั้นว่า จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มในระยะสั้น กลาง หรือ ระยะยาว และสำหรับวันถัดไปสามารถหาค่าเฉลี่ยได้ โดยตัดข้อมูลวันแรกสุดออกไป และเอาราคาของวันล่าสุดเข้ามาแทนที่ จากนั้นก็นำมาคำนวณโดยวิธีเดียวกันไปเรื่อย แสดงผลออกมาเป็นลักษณะเส้นที่มีทิศทางขึ้นลงไปมา และเคลื่อนไปทางขวา พร้อมๆกับราคาที่เปลี่ยนไปบนกราฟ

ในการนำ MA มาใช้วางบนกราฟ หลักๆที่ใช้กันจะมีอยู่ 3 รูปแบบ อยู่ที่คนเลือกใช้

1. Simple Moving Average ( SMA )

2. Exponential Moving Average ( EMA ) *ปกติผมใช้ตัวนี้ รู้สึกว่ามันตอบสนองเร็วกว่าตัวอื่น

3. Weight Moving Average ( WMA )

โดยยังจะมีการปรับย่อยๆลงไปเป็น High เป็น Low อันนี้อยู่ที่คุณว่าจะใช้ไหม ( ปกติ ผมไม่ค่อยใช้ )

MACD

 

MACD ( MOVING AVERAGE Convergence / Divergence ) คือเส้นของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคา 2 เส้น

สร้างขึ้นโดยใช้ความต่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้น โดยที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นหนึ่ง ใช้ระยะเวลาในการคำนวณยาวกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ อีกเส้นหนึ่ง และเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้นนี้ นิยมใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ EXPONENTIAL ส่วนจำนวนวันที่นำมาหาค่าเฉลี่ย ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ 12 วัน และ 25 (หรือ 26 วัน) มีข้อสังเกตว่า เส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวนี้ จะมีระยะเวลายาวนาน กว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นประมาณ 1 เท่า

Signal Line หรือ MACD Signal คือ เส้น EMA 9 วัน ซึ่งจะถูกวางไว้ใช้คู่กันกับเส้น MACD เพื่อหาสัญญานเข้าซื้อขาย

*ปกติผมจะใช้ MACD ใน Time Frame ใหญ่ๆ อย่าง H4 , DAY เพื่อดูแนวโน้มใหญ่มากกว่า

พื่อดู

Crossover .หลักพื้นฐานของ MACD ก็คือ ขายเมื่อเส้น MACD ชี้ลงต่ำกว่าโดยตัดเส้นสัญญาณลง และเข้าซื้อเมื่อเส้น MACD ชี้เหนือโดยตัดเส้นสัญญาณขึ้น หรืออีกอย่างหนึ่งคือ เข้าซื้อหรือขายเมื่อเส้น MACD อยู่เหนือหรือต่ำกว่าศูนย์

สูตรคำนวณ MACD 
MACD Line = EMA(12) – EMA(26)
Signal Line = EMA(9)

สามารถใช้ MACD ที่ระดับ 0 เป็นตัวบ่งบอก trend ได้เช่นกัน ถ้า MACD > 0 คือเป็นขาขึ้น, MACD < 0 เป็นขาลง 
จากสูตรคำนวณแสดงให้เห็นว่า ถ้า EMA12 ตัด EMA26 นั่นหมายถึง MACD จะเท่ากับ 0 พอดี แต่ถ้า
EMA12 < EMA26 นั่นคือ MACD จะอยู่ต่ำกว่า 0 และถ้า
EMA12 > EMA26 MACD จะอยู่เหนือเส้น 0

STOCHASTIC

 

Stochastic

เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กันมากสำหรับตลาดที่แกว่งตัวแบบ Sidewayโดยเฉพาะนักเก็งกำไรหรือนักลงทุนที่ชอบซื้อขายอย่างรวดเร็ว มีพื้นฐานมาจากข้อสังเกตที่ว่า ขณะที่ราคากำลังสูงขึ้นนั้น ราคาปิดจะมีแนวโน้มขยับสูงเข้าไปหาจุดสูงสุด High หรือกรอบบนของราคามากขึ้น แต่ในช่วงที่ราคาลดต่ำลงนั้น ราคาปิดก็จะลงมาใกล้กับจุดต่ำสุดLowหรือกรอบล่างของราคามากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นเครื่องมือนี้จึงใช้การวัดสัดส่วนของราคาปิดที่ขึ้นมาสูงกว่า Low ต่อช่วงกว้างของราคาทั้งหมดจาก High ถึง Low ในช่วงเวลา N วันที่ผ่านมา ซึ่งโดยปกติจะเป็น 5 วัน (n = 5)

Stochastic Oscillator แสดงออกเป็น 2 เส้น เส้นแรกคือ "%K" เส้นที่ 2 คือ "%D" %K มักจะแสดงเป็นเส้นทึบ ส่วน%D แสดงเป็นเส้นประ

***จากภาพด้านล่าง ง่ายๆ เขียวตัดแดงเมื่อไหร่ก็เข้าออเดอร์ตามทิศนั้น ราคาทะลุมาในกรอบโซน สูงสุด(over bought) ต่ำสุด(over sold) ก็ลองสังเกตุจังหวะที่ราคาจะกลับตัว***

วิธีการใช้งาน Stochastic ทั่วๆไป

-เข้าซื้อเมื่อเส้น Stochastic เข้าเขต over sold ที่บริเวณระดับต่ำกว่า 20% และควรขายเมื่อเส้น Stochastic อยู่เหนือบริเวณระดับ 80% แล้วตกลงมา

-ซื้อเมื่อเส้น %K อยู่ตัดขึ้นเหนือเส้น %D ขายเมื่อเส้น%K ตกลงมาต่ำกว่าตัดเส้น %D ลง สังเกตการ Divergences เช่น เมื่อราคากำลังทำจุดสูงสุดใหม่แต่ยอดของเส้น Stochastics ลดลงมาต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิมก่อนหน้า

โดยยังมีหลักที่ใช้วิเคราะห์ทั่วๆไป คือ

- ขอบเขต Over Bought คือ ขอบเขตที่อยู่ระหว่าง 80-100 

- ขอบเขต Over Sold คือ ขอบเขตที่อยู่ระหว่าง 0-20

- เมื่อราคาเข้าสู่เขตไม่ว่าจะเป็นโซน Over Bought หรือ Over Sold ในบางครั้ง ราคายังสามารถอยู่ในโซนที่เป็น Over Bought หรือ Over Sold ต่อไปได้เรื่อยๆ หากตลาดยังมีความแรง โดยอาจสังเกตได้จาก volumes

 

ADX

ADX เป็นเครื่องมือที่ใช้บอกความแข็งแรงของ Trend ณ ขณะนั้นโดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน

1.บอกความแข็งแรงของ Trend ในขณะนั้นโดยเส้น ADX (White)
1.1 ถ้า ADX มีลักษณะเส้นทิศทางลง หรือมีค่าลดลงเมื่อเทียบกับก่อนหน้านั้นแสดงว่า Trend นั้นเริ่มอ่อน อยู่ในช่วงใกล้เขตของเส้น20และหากอยู่ต่ำกว่าเส้น20 เป็นสัญญาณบ่งบอกอย่างชัดเจนว่าตลาดไม่มีเทรนที่แน่นอน หากจะเข้าเทรดควรต้องใช้ Indicator อื่นร่วมด้วย เช่น MACD , Stochatics
1.2 ถ้า ADX มีลักษณะเส้นทีศทางขึ้น เส้น ADX มุ่งหน้าไปทางเส้น40ก็แสดงว่า Trend นั้นเริ่มแรงขึ้น และเมื่อเลยเส้น40ขึ้นไป จะบ่งบอกถึงสถานะการณ์ OverBought หรือ OverSold คือเทรนกำลังจะหมด

2.บอกเทรนว่าขึ้นหรือลง จะประกอบด้วยเส้น DI+(Green)  / DI-(Red)
ถ้า DI+ อยู่เหนือ DI- จะแปลว่าเป็น Up trend
ถ้า DI- อยู่เหนือ DI+ จะแปลว่าเป้น Down trend

*สีของเส้นอยู่ที่คุณว่าจะ set เป็นสีอะไร

*ปกติผมจะดูว่าเส้น DI+,DI- ตัดกันอย่างไรเป็น Up หรือ Down Trend จากนั้นจีงมาดู ADX ว่าเทรนนั้นแข็งแรงไหม สำหรับผมเมื่อเลยเส้น 40 ขึ้นไป ผมจะรอต่ออีกนิดนึงถึงปิดออเดอร์ เพราะมีความเชื่อว่า Momentum ของ Trend จะยังคงมีอยู่ต่อ

*อย่าสับสนกับ RSI นะครับ :>

RSI

 

RSI 
เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วัดการแกว่งตัวของราคา สำหรับการลงทุนในช่วงหนึ่ง เพื่อดูภาวะการซื้อมากเกินไป (OVERBOUGHT) หรือขายมากเกินไป (OVERSOLD) ซึ่ง RSI นี้จะวิ่งอยู่ระหว่าง 0 - 100 โดยใช้ระดับเหนือ 70% บอกภาวะ OVERBOUGHT หรือซื้อมากเกินไป มีโอกาศที่ราคาจะปรับตัวลงมา และระดับต่ำกว่า 30% บอกภาวะ OVERSOLD หรือขายมากเกินไป มีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวสูงขึ้นไป และยังใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มของราคาหุ้นที่กำลังมีทิศทางขึ้นหรือลงนั้น กำลังใกล้จะอ่อนตัวลงหรือยัง โดยมีสัญญาณเตือนที่แสดงออกมาในรูปแบบของการขัดแย้งกัน (divergence) ระหว่างแนวโน้มราคาขณะนั้นกับ RSI
*เส้น RSI

1) ต่ำกว่าเส้น 30 คืออยู่ในเขต oversold เป็นช่วงแรงขายมากเกินไป ราคาอาจกลับตัวขึ้น

2) เหนือกว่าเส้น 70 คืออยู่ในเขต overbought เป็นช่วงแรงซื้อมากเกินไป ราคาอาจกลับตัวลง

 ปกติโดยส่วนตัวผมจะเพิ่มเส้น 50 ไว้อีกเส้น เป็นแนวต้านและรับ ไว้ช่วยตัดสินใจ 

 VOLUMES

 

Volumes คือ ปริมาณการซื้อขายจริงในช่วงเวลาหนึ่งๆ บอกปริมาณคำสั่งซื้อขายที่มีอยู่จริงในขณะนั้น การวิเคราะห์ปริมาณการซื้อขายเป็นพื้นฐานสำคัญของการวิเคราะห์ทางเทคนิค ปริมาณการซื้อขายควรสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของราคา เพราะเป็นตัว drive ตลาดให้ขับเคลื่อน ปกติผมจะให้ความสำคัญกับ Volumes เป็นอย่างมาก เพราะสำหรับผมมันเป็นตัวช่วยตัดสินใจอันดับต้นๆตัวนึงเลยทีเดียว  


ความหมายทั่วๆไป
ระดับปริมาณซื้อขายต่ำแสดงการลังเลของการคาดคะเน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อราคาเคลื่อนไหว Sideways และมักเกิดขึ้นเมื่อตลาดอยู่ในภาวะเงียบเหงา



ระดับปริมาณซื้อขายสูง เป็นลักษณะของภาวะตลาดดี และนักลงทุนส่วนใหญ่เชื่อว่าราคาจะมี movement ที่เพิ่มขึ้นๆ ปริมาณการซื้อขายสูงมักเกิดขึ้นในการเริ่มต้นสู่แนวโน้มใหม่ด้วย (เมื่อราคาทะลุแนวรับหรือแนวต้าน) ก่อนที่ตลาดจะเข้าสู่ภาวะนิ่ง ปริมาณการซื้อขายมักจะเพิ่มขึ้นด้วยเพราะความตื่นตระหนกของนักลงทุน

ปริมาณการซื้อขายสามารถบ่งบอกความมีประสิทธิภาพของแนวโน้ม (Trend) ที่มีอยู่ แนวโน้มขาขึ้นที่มีประสิทธิภาพจะมีปริมาณการซื้อขายสูงในช่วงขาขึ้นของแนวโน้ม และปริมาณการซื้อขายต่ำเกิดขึ้นในช่วงที่แนวโน้มเป็นขาลง แนวโน้มขาลงที่มีประสิทธิภาพมักจะมีปริมาณการซื้อขายสูงในช่วงขาลงของแนวโน้มและปริมาณซื้อขายต่ำเมื่ออยู่ในแนวโน้ม

*ปกติในตลาด FOREX ผมไม่ค่อยได้ใส่ใจกับ Volumes เท่าไหร่ ด้วยสภาพคล่องของตลาดที่มีล้นเหลือ จะเอามาใช้ก็เพียงการเทรดในช่วงข่าวว่าVolumesเข้ารึยังแล้วหาจังหวะออกออเออร์  ต่างจาก SET ของบ้านเราที่ Volumes มีส่วนในการตัดสินใจซื้อหุ้นซักตัวอย่างมาก

BOLLINGER BANDS

เป็นเครื่องมืออีกชิ้นนึงที่ผมชอบมาก :> บางครั้งผมก็ใช้แค่ Bollinger Bands นี่แหล่ะ ในการเทรด

Bollinger Bands จะเป็นกลุ่มเส้นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ MOVING AVERAGE แต่จะมี Envelope ที่ถูก Plot ไว้ด้านบนและด้านล่าง โดยใช้เส้นเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) โดย Plot ไว้เหนือและใต้เส้น Moving Average (ค่า Default จะเป็น 20 นะครับ) โดยเส้นเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้วัดความเปลี่ยนแปลง Bollinger Bands จะขยายกว้างขึ้นในขณะที่ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงมีเทรนแรงและชัดเจน และหดลงในช่วงที่ตลาดซบเซาตลาดเป็น sideway

*ง่ายๆลองนึกภาพหนังยางหรือลูกโป่ง เราถ่างมันออกไปมากๆ มันก็เด้งกลับไป กลับมา ผ่านเส้นตรงกลางเมื่อดูในกราฟ ปกติผมจะเพิ่มเส้น MA มาอีกซัก 2 เส้น แล้วดูจังหวะการตัดขึ้นลงของ MA ทั้งสองเส้นและเส้นกลางของ Bollinger Bands

Bollinger Bands สร้างโดย Mr. John Bollinger

ความหมายทั่วๆไป

Bollinger Bands จะแสดงผลอยู่บนเส้นกราฟราคา Bollinger Bands คือราคาที่เคลื่อนที่ในแนวโน้มกรอบสูงต่ำ ลักษณะเด่นของ Bollinger Bands คือพื้นที่ระหว่างความแตกต่างของกรอบ(Band)มีพื้นฐานมาจากความเปลี่ยนแปลงของราคา 

ในช่วงเวลาของราคาที่มีช่วงในการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดกรอบก็จะกว้างตามไปด้วย ในช่วงที่ตลาดซบเซากรอบก็จะพลอยแคบตามไปด้วย



Mr. Bollinger ได้ตั้งข้อสังเกตุลักษณะของ Bollinger Bands ดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างฉับพลัน มีแนวโน้มเกิดขึ้นหลังจากกรอบแคบลง ๆ เมื่อการแกว่งของราคาลดน้อยลง
  • เมื่อราคาเคลื่อนที่ออกนอกกรอบ สามารถบอกเป็นนัยได้ว่าจะเกิดแนวโน้มแบบต่อเนื่องไปได้อีก
  • เมื่อจุดต่ำและสูงเกิดขึ้นนอกกรอบ แล้วตามด้วยการเกิดจุดต่ำและสูงในกรอบ เช่นนี้เรียกว่ามีการกลับตัวของแนวโน้ม


การเคลื่อนที่จากจุดกำเนิดของกรอบและเคลื่อนไปตลอดทางจนถึงอีกกรอบหนึ่ง การสังเกตนี้จะมีประโยชน์ เมื่อคุณมีการตั้งเป้าหมายของราคาไว้

 PARABOLIC SAR

 

Parabolic SAR อยากบอกว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ง่ายสุดๆ แค่ดูจากภาพก็น่าจะมองออกว่าใช้ยังไง

มีหน้าที่บอกเทรน การเปลี่ยนแปลงของเทรน ง่ายๆคือถ้าหาก Parabolic SAR ที่มีลักษณะเป็นจุดกลมๆ เกิดขึ้นใต้ราคา แนวโน้มของราคาก็จะมีเทรนเป็นขาขึ้น  ในทางตรงกันข้ามถ้า Parabolic SAR อยู่เหนือราคา แนวโน้มของราคาจะเป็นเทรนขาลง ในการใช้เครื่องมือ Parabolic SAR คุณสามารถใช้ดูร่วมกันกับเครื่องมืออื่นก็ได้ เช่น ADX ถ้าค่าของ ADX บอกว่าตอนนี้เป็น Sideway 

 

*ในบางครั้งผมก็ใช้ Parabolic Sar นี่แหล่ะเป็นตัว confirm สัญญาณในการเข้าออเดอร์ เช่น คุณอาจจะเปิดออเดอร์เมื่อ Parabolic Sar เกิดขึ้นจุดที่2 ในด้านบนหรือล่างของราคา แล้วก็ปิดออเดอร์เมื่อถึงจุดทำกำไรที่ต้องการ ทั้งนี้คุณอาจลองดูและศึกษาจากกราฟย้อนหลังก็ได้

 

 

Visitors: 83,468