Broker Selection เลือกโบรคเกอร์เทรด CFDs

ในการเลือกโบรกเกอร์ Forex ปกติคุณใช้เหตุผลใดในการเลือก?

ส่วนตัวผมเลือกจาก Reference ของบริษัท ความน่าเชื่อถือ และลองใช้ Platform ที่ ทางโบรกเกอร์นั้นๆใช้ในการเทรดว่ารวดเร็วทันใจหรือไม่ , มีคนไทยเป็น Support team ที่ตอบปัญหาชัดเจน รวดเร็ว , มี Technical ให้อ่าน ,มีการ CRM ที่ดี , มีเพจที่อัพเดทตลอดเวลา ให้ดีที่สุดคือมีการจัดสัมนาให้ความรู้ ได้เจอหน้าทีมงาน ที่เหลือก็คงจะเป็นเรื่องภาพลักษณ์ บุคลิกของแต่ละที่ 

ในการสมัครเปิดบัญชีเทรด forex ของแต่ละ Forex Broker จะมีลักษณะ Transaction ขั้นตอน คล้ายๆกัน ไม่แตกต่างกันมากนัก เอกสารที่จำเป็นที่ต้องสแกนหรือถ่ายรูปจากโทรศัพท์แล้วเมลล์ไปให้ทางโบรกเกอร์ หรือ ก็คงจะมีเพียงสำเนาบัตรประชาชนหรือ Passport และ จดหมายบิลเรียกเก็บที่แจ้งที่อยู่ของเราเป็นภาษาอังกฤษ(ปัจจุบันภาษาไทยก็ได้)ที่จ่าหน้าถึงเรา อาทิ จดหมายแจ้งบัตรเครดิต , จดหมายแจ้งค่าโทรศัพท์มือถือ etc... ปัจจุบันใช้การ upload ที่หน้าเว็บไซต์ของแต่ละโบรค ใช้เวลาไม่กี่นาที ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอน

จากนั้นขั้นตอนต่อไปคือการโอนเงินซึ่งปัจจุบันมีช่องทางการโอนเงินหลายช่องทาง ปกติผมจะใช้บัตรเครดิต หรือ เดบิต ในการเอาเงินเข้าบัญชี ทั้งนี้คุณสามารถเลือกช่องทางการโอนเงินที่คุณสะดวก และทำตามขั้นตอนที่ทางโบรกเกอร์อธิบายและเตรียมไว้ให้ง่ายๆเป็นขั้นตอนโดยคุณสามารถเลือกเป็นภาษาไทยได้ ยังไงลองดูตามที่ GuideLineไว้ให้ครับ  

คุณสามารถที่จะเปิดบัญชีทดลองเทรด forex (DEMO Account) ก่อนได้ และสามารถ download MT4 มาลองใช้ให้คล่องมือก่อนที่จะลงสนามจริง เพื่อให้การใช้งาน การออกออเดอร์เมื่อเปิดบัญชีจริงเพื่อไม่ให้มีการผิดพลาดเกิดขึ้น

จริงๆผมว่าการเลือก Forex โบรกเกอร์ จะว่าไปก็เหมือนเลือกคบเพื่อนหรือแฟน เจอดีก็ดีไป แรกๆก็ต้องเรียนรู้กัน เรียนรู้ระบบของแต่ละโบรกเกอร์ จริงๆก็คล้ายๆกันแต่ก็ไม่เหมือนกันใน function ต่างๆ ในเพจ เริ่มตั้งแต่ตอนสมัครก็ต่างกันละ บางที่หลังจาก upload เอกสาร วันเดียวก็เทรดได้เลย บางที่รอเป็นอาทิตย์ถึงจะเทรดได้ ส่วนตัวเคยใช้มาแล้วหลายโบรค ,เปิด a/c กับฺBank โดยตรงก็ใช้อยู่ (Deposit ค่อนข้างสูงนิดนึง)

ปัจจุบัน Forex โบรกเกอร์มีให้เลือกเยอะมากมาย โปรโมชั่น แจก แถม ก็เยอะแยะ อัพเดทกันแทบทุกเดือน ยังไงแนะนำให้ลองศึกษาโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือนิดนึง ลอง Search ข่าวคราวเกี่ยวกับตัวบริษัทใน Google ดูครับ ว่าบริษัทมีปัญหาไรอยู่ไหม มีการฟ้องร้องกับ Client ไหม ส่วนตัวผมเคยเจอมาแล้ว โบรกเกอร์มีชื่อเสียงระดับโลก Sponsor ทีมกีฬาระดับ world class ทุกอย่างดูดำเนินการปกติ แต่พอได้ลอง Search ดู ถอนเงินแทบไม่ทัน 

ส่วนตัวผมดู ความน่าเชื่อถือเป็นอันดับแรกและสำคัญที่สุด

ขั้นตอนการถอนเงินที่สะดวกรวดเร็ว การโอนเงินเข้าบัญชี ปกติผมจะใช้ช่องทางการโอนโดยผ่านบัตรเครดิต/เดบิต เพราะสะดวกดี ส่วนไครต้องการโอนทางช่องทางอื่นก็ลองเลือกดูครับมีหลายช่องทางมาก ผมไม่สามารถแนะนำช่องทางอื่นๆได้เพราะไม่มีเวลาที่จะupdateและกลัวตกล่น ยังไงลองเข้าไปดูและเลือกเอาตามความสะดวก ตามถนัดเลยครับ  

 

ประเภทของโบรกเกอร์จะมีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ คือ 

1/ Dealing Desks (DD) หรือที่เรียกว่า Market Makers

2/ No Dealing Desks (NDD) สามารถแยกย่อยได้อีก คือ

  2.1.Straight Through Processing (STP) คือ การประมวลผลโดยตรง  

  2.2 Electronic Communication Network + Straight Through Processing (ECN+STP) คือ ระบบอัตโนมัติเพื่อเก็บคำสั่งซื้อที่ตรงกัน + การประมวลผลโดยตรง

 

 1 / Dealing Desks (DD) หรือ Market Makers คืออะไร ?

Dealing Desks คือ โบรกเกอร์ที่ดำเนินการผ่านเคาน์เตอร์จัดการ (DD) 
โบรกเกอร์จจะสร้างรายได้ผ่านค่าสเปรด และการซื้อขายกับลูกค้าของพวกเขา และที่ได้ชื่อว่า Market Makers 
ก็เพราะว่าโบรกเกอร์ประเภทนี้จะสร้างราคาอัตราแลกเปลี่ยนเทียมขึ้นมาสำหรับลูกค้าของเขา 
ตอนนี้คุณจะกำลังคิดว่ามันเป็นอะไรที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของคุณ แต่อันที่จริงแล้วไม่เลย เพราะ Market Makers 
จะทั้งซื้อและขายในเวลาเดียวกัน ซึ่งก็หมายความว่าพวกเขาไม่ได้แยแสกับการตัดสินใจซื้อขายของลูกค้าเลย

และเมื่อ Market Makers เป็นผู้ควบคุมราคาเอง ทำให้มีความเสี่ยงที่น้อยมากในการตั้ง Fixed Spread (ค่าสเปรดคงที่) 
และลูกค้าของโบรกเกอร์จะไม่เห็นราคาที่แท้จริงจากตลาดระหว่างธนาคาร แต่ไม่ต้องกลัวเมื่อเห็นว่าโบรกเกอร์ที่เป็น DD 
มีราคาปิดไม่ตรงกันกับตลาดระหว่างธนาคาร (ตลาดกลาง) การซื้อขายโดยใช้เคาน์เตอร์จัดการ (DD)

สมมติว่าคุณเปิดคำสั่งซื้อสำหรับ EUR / USD 100,000 หน่วย กับโบรกเกอร์ที่เป็น DD และเพื่อตอบสนองความต้องการของคุณ 
ขั้นแรกโบรคเกอร์จะพยายามหาคำสั่งขายของลูกค้าอื่นๆเพื่อมาจับคู่กับออเดอร์ซื้อของคุณ 
หรือไม่ก็จะส่งออเดอร์ของคุณไปให้ฝ่ายบริหารจัดการสภาพคล่องของบริษัท 
ซึ่งก็คือนิติบุคคลขนาดใหญ่ที่พร้อมจะซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงินอยู่แล้ว 
ซึ่งการทำแบบนี้ จะช่วยลดความเสี่ยงของพวกเขาได้ เพราะโบรกเกอร์จะได้เงินจากค่าสเปรดโดยไม่ต้องรับถือออเดอร์ที่เป็นฝั่งตรงข้าม
กับออเดอร์ของคุณ แต่อย่างไรก็ตามถ้าไม่สามารถจับคู่คำสั่งให้กับลูกค้าได้ พวกเขาก็จะต้องถืออเดอร์ฝั่งตรงข้ามให้กับลูกค้าเอง (แต่โดยส่วนใหญ่จะไม่ทำแบบนั้น และอาจไม่ทำการเปิดออเดอร์ให้กับลูกค้า)

และคุณควรจะรู้ไว้ด้วยว่า บรรดาโบรกเกอร์ทั้งหลาย ต่างก็มีนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่แตกต่างกัน 
ดังนั้นคุณควรที่จะตรวจสอบโบรกเกอร์ของคุณด้วยว่า นโยบายบริหารความเสี่ยงของพวกเขาเป็นเช่นไร

2/ No Dealing Desk Broker คืออะไร?

ตามชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า No Dealing Desk (NDD) นั่นก็คือ 
โบรกเกอร์ที่ไม่ส่งคำสั่งซื้อขายของลูกค้าผ่านเคาน์เตอร์จัดการ 
ซึ่งหมายความว่าโบรกเกอร์ไม่ได้หาผลประโยชน์จากด้านอื่นในการเทรดของลูกค้าเลย 
ที่โบรกเกอร์ทำก็เพียงแค่เชื่อมโยงทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกันเท่านั้น
NDDs เป็นเหมือนผู้สร้างสะพานเชื่อมต่อระหว่างสองที่ NDDs สามารถเรียกเก็บค่านายหน้าที่มีขนาดเล็กมากสำหรับการซื้อขาย 
หรือโดยแค่ค่าสเปรดเพียงเล็กน้อย NDD โบรกเกอร์ ยังสามารถเป็นได้ทั้ง STP หรือ STP+ECN

 

*โบรกเกอร์ A-Book คือ โบรกเกอร์ที่ทำตัวเป็นแค่ตัวกลางส่งคำสั่งซื้อขายระหว่างนักลงทุนกับ Liquidity provider

โดยจะมีการส่งเงินของคุณทั้งหมด 100% เข้าสู่ตลาดจริง ซึ่งการติดต่อทั้งหมดจะกระทำโดยตรงกับตลาด ไม่ใช่กับโบรกเกอร์หรือบริษัทที่โบรกเกอร์ทำงานอยู่ และไม่มีผลประโยชน์อื่นแอบแฝง

โบรกเกอร์ A-Book จะได้รับค่าตอบแทนที่มาจากค่า Spread และ Commission
ตามเงื่อนไขที่ประกาศในตอนแรกเท่านั้น ทำให้ผู้ลงทุนมีความปลอดภัยสูงในการซื้อขายและสามารถทำกำไรได้อย่างเต็มที่ในการสมัครเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์

 

Visitors: 83,465