DOW THEORY

Dow Theory เป็นทฤษฎีที่ผู้ที่จะเข้ามาเทรดในตลาดเงินตลาดทุนควรที่จะทราบไว้เพื่อเป็นพื้นฐานในเบื้องต้น 

ทฤษฎีดาว (Dow Theory) ถูกคิดค้นขึ้นโดยนายชาร์ลส์ เอช ดาว (Charles H. Dow) ผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งการวิเคราะห์ทางเทคนิค เมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้ว ดาว ได้พัฒนา การวิเคราะห์ตลาดหุ้น จนเกิดเป็นทฤษฏีในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จนกระทั่งเขาได้เสียชีวิตในปี 1902  ซึ่งเขาเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของ และเป็นบรรณาธิการของ หนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal นอกจากนั้นยังได้เป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือหลายเล่มในการให้ความเห็นด้านการเก็งกำไร และ กฎ industrial average โดยทำงานร่วมกันกับอาจารย์โจนส์ (Edward Jones) ในขณะนั้น ซึ่งในเวลาต่อมาตลาดหุ้นอเมริกาให้เกียรติทั้งสองท่าน โดยการนำนามสกุลทั้งสองไปตั้งชื่อดัชนีอุตสาหกรรม DOW JONES  ( *** บางที่ก็บันทึกว่า ดาว และ โจนส์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนกันในหนังสือพิมพ์ Wall Street Jounal และเป็นผู้คิดดัชนี Dow Jones ขึ้นมาเอง โดยใช้หุ้นชั้นนำหรือที่เรียกว่าหุ้นกลุ่มบลูชิพมาคำนวณ )

 
 
 
 
หลังจากที่ดาวเสียชีวิตแล้ว ก็มี หนังสือที่อธิบายเกี่ยวกับทฎษฎีของเขามากมายเช่น The ABC of Stock Speculation, The Stock Market Barometer เป็นต้นและหลักการของดาว ยังคงใช้ได้ตราบจนถึงปัจจุบัน โดยมีแนวความคิดที่ใช้ในการวิเคราห์ราคาหุ้นและปริมาณการซื้อขาย โดยหลักการมีดังนี้

 

1. พฤติกรรมของราคาหุ้นที่แสดงออกมานั้น ได้ดูดซับเหตุการณ์ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นเอาไว้แล้ว


2. แนวโน้มขาขึ้นหรือ uptrend และแนวโน้มขาลง down trend จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

uptrend
- จุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของราคาล่าสุด จะต้องอยู่สูงกว่าจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของราคาก่อนหน้า

down trend
- จุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของราคาล่าสุด จะต้องอยู่ต่ำกว่าจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของราคาก่อนหน้า

หลักการข้อสองนี้เองที่เป็นที่มาของคำว่า Trend ซึ่งผมจะเอามานำเสนอในตอนต่อไป

2.1 นอกจากนี้ Charles H. Dow ยังได้แบ่งระยะของแนวโน้มออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้
- ช่วง Primary ใช้เวลา 1 ปีขึ้นไป
- ช่วง Secondary ใช้เวลา 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน ช่วงนี้จะเป็นช่วงของการปรับตัว (Correction) ใน Primary trend
- ช่วง Minor จะกินเวลาน้อยกว่า 3 สัปดาห์เป็นเพียงการแกว่งตัวของราคาที่เกิดขึ้นเท่านั้น

ช่วงการขึ้นของแต่ละช่วงมันดูยากเอาเป็นว่าแค่รู้ไว้เบื่องต้นก็พอนะ...

3. พฤติกรรมการลงทุนจะมีในแนวโน้มจะมีอยู่สามจังหวะดังนี้
- จังหวะแรกเป็นพวก VI หรือไม่ก็เป็นพวกที่รู้ข่าวดีก่อน คนกลุ่มนึงนี้เมื่อเห็นว่าข่าวในเชิงลบได้ถูกราคาดูดซับ่าวลบไปหมดแล้ว และรู้ว่าอีกไม่นานข่าวดีกำลังจะมา จึงมีการไล่ซื้อหุ้น เรียกว่าช่วง accumulation phase
- จังหวะที่สองเป็นจังหวะของสายเทคนิคพวกใช้กราฟโดยมีแรงหนุนจากข่าวดีเสริมเข้ามาประกอบ ส่งผลให้ราคาปรับตัวขึ้นอีก
- จังหวะที่สามเป็นจังหวะที่มีผู้เล่นอยู่ในตลาดมากยิ่งขึ้น มีแต่ข่าวดีการเก็งกำไรมีมากขึ้น ช่วงนี้นักลงทุนกลุ่มแรกจะเริ่มขายทำกำไรออกไปเรียกช่วงนี้ว่า distribution phase

4.ในยุคของ Down เค้าบอกว่านัยสำคัญของแนวโน้ม ควรที่จะยืนยันซึ่งกันและกันคือในยุคนั้นเค้ามีค่าเฉลี่ยที่ใช้เป็นตัววัดดูภาพรวมอยู่ 2 ค่าคือ industrial และ rail average ซึ่งเข้าเชื่อว่าตลาดจะขึ้นหรือลงจะไม่มีนัยสำคัญหาก industrial และ rail average ไม่ไปในทิศทางเดียวกันซึ่งตรงจุดนี้เองเป็นจุดที่แตกต่างระหว่าง Dow Theory กับ Elliott Wave Theory (อันนี้ไว้ตอนหลัง) Elliott Wave Theory ไม่พูดถึงการยืนยันทิศทางด้วยค่าเฉลี่ยอีกค่าหนึ่ง

5. ปริมาณการซื้อขาย เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ใช้ในการยืนยันแนวโน้มเช่น หากราคาขึ้นปริมาณการซื้อขายต้องเพิ่มขึ้นตามขณะที่ราคาขยับตัวขึ้น และปริมาณการซื้อขายควรจะน้อยลงหากราคามีการปรับตัวลงสภาพที่เกิดขึ้นเช่นนี้จึงถือว่าแนวโน้มของราคายังคงเป็นขาขึ้นอยู่ ในทางกลับกันหากแนวโน้มเป็นขาลงปริมาณการซื้อควรจะเพื่มขึ้นตอนที่ราคามีการปรับตัวลง และปริมาณการซื้อขายควรน้อยลง ขณะที่ราคามีการดีดตัวขึ้น สภาพที่เกิดขึ้นเช่นนี้จึงถือว่าเป็นแนวโน้มขาลง อย่างไรก็ตาม ปริมาณการซื้อขาย เป็นเพียงแค่ปัจจัยประกอบการพิจารณา แต่สิ่งที่จะใช้เป็นตัวให้สัญญาณยังคงอิงอยู่กับราคา (โดยเฉพาะราคาปิด)

6. แนวโน้มจะยังคงถูกเชื่อว่ามีอยู่ จนกว่าสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้มเกิดขึ้น หลักการนี้เป็นพื้นฐานที่เอาไว้ใช้ศึกษาเรื่องแนวรับแนวต้าน รูปแบบของราคาตลอดจนเครื่องมือในการวิเคราะห์อื่นๆอีกมากมาย ในการบอกถึงโอกาสในการเปลี่ยนแนวโน้ม

Visitors: 83,465