FIBONACCI THEORY


Fibonacci เป็นชื่อเรียกเลขอนุกรมมหัศจรรย์ ที่ตั้งขึ้นตามผู้คิดค้นคือ LEONARDS FIBONACCI
ซึ่งสังเกตเห็นว่าธรรมชาติมีสัดส่วนสัมพันธ์กับตัวเลขนี้ ต่อมาได้มีการประยุกต์นำมาใช้ในการวิเคราะห์ราคาหุ้น
Fibonacci เป็นเครื่องมือเครื่องมือที่ใช้วัดหา แนวรับ –แนวต้าน และหาราคาเป้าหมายของราคาในตลาดการเงิน การลงทุน ต่างๆทุกประเภท
เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้กันมากเพราะ Fibonacci ใช้ง่าย และเป็นพื้นฐานที่เราควรจะรู้
โดยมีรูปแบบอยู่ 2 ลักษณะที่ใช้กันอยู่บ่อย ๆ คือ
Fibonacci retracement หาแนวรับแนวต้านราคาในแนวระนาบ <--ปกติใช้ตัวนี้กัน
Fibonacci fan หาแนวรับในแนวเฉียง
การนำไปใช้งาน สัดส่วนที่นำมาใช้ ถูกคำนวณมาเป็น % มีดังนี้
Fibonacci เป็นเครื่องมือเครื่องมือที่ใช้วัดหา แนวรับ –แนวต้าน และหาราคาเป้าหมายของราคาในตลาดการเงิน การลงทุน ต่างๆทุกประเภท
เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้กันมากเพราะ Fibonacci ใช้ง่าย และเป็นพื้นฐานที่เราควรจะรู้
โดยมีรูปแบบอยู่ 2 ลักษณะที่ใช้กันอยู่บ่อย ๆ คือ
Fibonacci retracement หาแนวรับแนวต้านราคาในแนวระนาบ <--ปกติใช้ตัวนี้กัน
Fibonacci fan หาแนวรับในแนวเฉียง
การนำไปใช้งาน สัดส่วนที่นำมาใช้ ถูกคำนวณมาเป็น % มีดังนี้
0 (0%)
0.236(23.6%)
0.382(38.2%)
0.500(50%)
0.618(61.8%)
0764(76.4%)
1.00(100%)
1.382(138.2%)
1.618(161.8%)
2.618(261.8%)
4.236(423.6%)
ตัวเลขที่เห็น คือตัวเลขที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษเพราะจะเป็นจุดกลับตัวของแท่งเทียน หรือการปรับฐานนั้นเอง
การใช้ Fibonacci อันดับแรกเราต้องหาหัวและหาท้ายของคลื่นให้ได้ก่อน จากนั้นเปิด Fibonacci จาก MT4 แล้วลากจากจุดหัว จนถึงจุดท้ายสุด ยอดหรือก้นสุดของกราฟ จากนั้นคุณจะเห็นเส้นที่ปรากฎค่าที่มีนัยะตามตัวเลขข้างต้นดังภาพ เส้นปะสีแดงที่ลากจากล่างขึ้นบน เส้นที่ปรากฎในระดับราคาต่างๆนั้น จะเป็นได้ทั้ง แนวต้าน แนวรับ และ Target Profit รวมถึง จุด Stop Loss อันนี้อยู่ที่คุณว่าจะให้ความสำคัญอย่างไร กราฟเดียวกันบ่อยครั้งที่ต่างคนต่างลากFibonacci ลากออกมาก็ไม่เหมือนกัน ต่างคนต่างไทม์เฟรม


ประวัติของตัวเลข ฟิโบนาซซี่ (Fibonacci)
ศตวรรษที่ 13 นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลีกับชื่ออันเป็นที่มาของลำดับนี้ คือ ลีโอนาโด ฟีโบนักชี ผู้ซึ่งได้พาเราเข้าไปล่วงรู้ความลับของธรรมชาติ จากการที่เขาได้สังเกต และศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ เช่น รูปแบบของฟ้าแลบ รูปแบบของผลไม้ และรูปแบบของเปลือกหอยทาก เป็นต้น
การศึกษาของเขาพบว่า การเกิดของ ปรากฏการณ์เหล่านี้มีรูปแบบที่เป็นปกติ และค่อนข้างสม่ำเสมอ โดยนำมาคิดเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ คือ 1 1 2 3 5 8 13 21 34 55 89 ….และต่อ ๆ ไป ซึ่งใช้วิธีการจัดเรียงตัวเลขจากการนำตัวเลขที่อยู่สองตัวข้างหน้าบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นตัวเลขตัวถัดไป เช่น 1+1=2, 1+2=3, 2+3=5, 3+5=8,
การศึกษาของเขาพบว่า การเกิดของ ปรากฏการณ์เหล่านี้มีรูปแบบที่เป็นปกติ และค่อนข้างสม่ำเสมอ โดยนำมาคิดเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ คือ 1 1 2 3 5 8 13 21 34 55 89 ….และต่อ ๆ ไป ซึ่งใช้วิธีการจัดเรียงตัวเลขจากการนำตัวเลขที่อยู่สองตัวข้างหน้าบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นตัวเลขตัวถัดไป เช่น 1+1=2, 1+2=3, 2+3=5, 3+5=8,



ตัวอย่างง่าย ๆ ที่แสดงถึงความปรากฎอยู่ของลำดับฟีโบนักชีในธรรมชาติ ได้แก่ การแตกกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ ตาลูกสนซึ่งมีการจัดเรียงแบบวนก้นหอยที่หมุนตามเข็มนาฬิกา และทวนเข็มนาฬิกาในอัตราส่วนเป็น 5 ต่อ 8 หรือตาสับปะรดก็มีการจัดเรียงที่หมุนตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกาในอัตราส่วนเป็น 8 ต่อ 13 เช่นกันกับการจัดเรียงเกสรของดอกทานตะวันที่มีการจัดเรียงเกสรแบบหมุนตามเข็มนาฬิกา และทวนเข็มนาฬิกาด้วยอัตราส่วนเป็น 21 ต่อ 34
แต่ความจริงที่ทำให้เราต้องพิศวง ก็คือ ลำดับฟีโบนักชีจะมีอัตราส่วนจากการหารตัวเลขหลังด้วยตัวเลขหน้า โดยเริ่มจากตัวเลขค่าที่สี่เป็นต้นไป เช่น 5 หารด้วย 3, 8 หารด้วย 5, 13 หารด้วย 8, 21 หารด้วย 13 ได้ผลลัพธ์ที่เข้าใกล้อัตราส่วน 1.618 และเมื่อตัวเลขยิ่งเพิ่มมากขึ้น ความเข้าใกล้อัตราส่วน 1.618 นี้ก็ยิ่งมากขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด คนโบราณจึงถือว่ามันเป็นสัดส่วนที่ธรรมชาติได้บรรจงสร้างขึ้นอย่างแสนมหัศจรรย์ พร้อมกับเรียกชื่อตัวเลข 1.618 นี้เป็นภาษากรีกโบราณว่า PHI (ฟี) หรือบางครั้งถึงกับเรียกว่า อัตราส่วนทองคำ (Gloden ratio)
PHI มีอยู่แห่งหนใดบ้าง ??
ถ้าใครที่เคยศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพศผู้กับเพศเมียในสังคมผึ้ง คงทราบว่าผึ้งตัวเมียจะมีจำนวนมากกว่าผึ้งตัวผู้เสมอ แล้วถ้าเราลองนำจำนวนทั้งหมดของผึ้งตัวเมียหารด้วย จำนวนทั้งหมดของผึ้งตัวผู้ไม่ว่ารังใดก็ตามในโลกนี้ ค่าที่ได้ก็คือ 1.618 หรือ PHI นี่แหละ
ถ้าใครที่เคยศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพศผู้กับเพศเมียในสังคมผึ้ง คงทราบว่าผึ้งตัวเมียจะมีจำนวนมากกว่าผึ้งตัวผู้เสมอ แล้วถ้าเราลองนำจำนวนทั้งหมดของผึ้งตัวเมียหารด้วย จำนวนทั้งหมดของผึ้งตัวผู้ไม่ว่ารังใดก็ตามในโลกนี้ ค่าที่ได้ก็คือ 1.618 หรือ PHI นี่แหละ
ไม่ว่าจะเป็น การจัดเรียงเกสรของดอกทานตะวัน ตาสับปะรด ตาลูกสน เปลือกหอยที่เป็นเกลียวรอบ ต่างก็มีอัตราส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของแต่ละวงเทียบกับวงถัดไปเท่ากับ PHI ทั้งนั้น
ถ้าหากอยากพิสูจน์ว่าแต่ละวงสามารถจัดเรียงได้ตามลำดับ ฟีโบนักชีหรือไม่
ก็ง่ายนิดเดียว เพียงแค่เอา 1.618 คูณหรือหารด้วยวงนั้น ๆ เราก็จะสามารถทราบคำตอบของวงถัดไปทั้งวงนอกและวงในได้โดยไม่ยาก
ก็ง่ายนิดเดียว เพียงแค่เอา 1.618 คูณหรือหารด้วยวงนั้น ๆ เราก็จะสามารถทราบคำตอบของวงถัดไปทั้งวงนอกและวงในได้โดยไม่ยาก
หรือในกรณีการแตกใบของต้นไม้ นักชีววิทยาได้พบว่าใบที่แตกใหม่จะทำมุม 137.5 องศากับแนวใบเดิม ซึ่งถ้าเราเอา 360 – 137.5 จะได้ 222.5 จากนั้นจึงเอา 222.5 หารด้วย 137.5 ค่าที่ได้ทุกคนน่าจะเดาถูกนั่นก็คือ PHI ทั้งนี้ นักชีววิทยาได้ให้เหตุผลว่า มุม 137.5 องศา เป็นมุมที่ดีที่สุดในการทำให้ใบไม้ทุกใบของต้นไม้ได้รับแสงแดดมากที่สุด สำหรับการสังเคราะห์อาหารนั่นเอง
นี่คือตัวอย่างการศึกษาทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ และความจริงทางธรรมชาติ ทำให้เราได้ค้นพบว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ธรรมชาติล้วนได้สร้างกฎเกณฑ์พื้นฐานรองรับไว้อย่างน่าอัศจรรย์ พร้อมกันนั้นยังก่อให้เกิดสัดส่วนที่มีความสมส่วนซึ่งกันและกันของขนาด จนกลายเป็นความงาม ความกลมกลืน ที่เราต่างก็ยอมรับถึงความเหมาะเจาะลงตัว