Bitcoin ถือเป็นสกุลเงินแรกของโลกที่ถูกเรียกว่าคริปโตเคอเรนซี (cryptocurrency)
Bitcoin สามารถใช้แทนเงินสดซื้อสินค้าออนไลน์ อาจคล้ายกับระบบซื้อขายผ่านอินเทอร์เนตทั่วๆไปที่ใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต
อย่างไรก็ตาม ความพิเศษของ Bitcoin ที่เป็นตัวช่วยให้มันเป็นที่นิยมคือมันถูกควบคุมแบบกระจาย (decentralize) กล่าวคือไม่มีสถาบันการเงินไหนสามารถควบคุมบิมคอยได้ ซึ่งนั่นทำให้ผู้คนที่เลือกใช้ Bitcoin ส่วนใหญ่สบายใจเนื่องจากแม้แต่ธนาคารก็ไม่สามารถควบคุม Bitcoin ได้ มีความเป็นอิสระในตัวมันเอง
ไม่มีใครสามารถพิมพ์ Bitcoin ได้ เพราะมันเป็นสกุลเงินที่ไม่สามารถจับต้องได้เหมือนกับธนบัตรที่ถูกพิมพ์โดยรัฐบาล, ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้สอดคล้องกับจำนวนประชากร และมันมีกฏเกณฑ์ในตัวของมันเอง ในขณะที่ธนาคารกลางบางประเทศสามารถที่จะพิมพ์เงินได้เองเพื่อกู้วิกฤติหนี้แห่งชาติ หรือประกาศอ่อนค่าเงินของตัวเอง
แต่ Bitcoin ถูกสร้างขึ้นโดยเป็นเหมือนกับไฟล์คอมพิวเตอร์ โดยกลุ่มนักพัฒนาอิสระที่ใครๆก็สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ การจะผลิต Bitcoin ขึ้นมาได้นั้นต้องใช้วิธีการ “ขุด” โดยการใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่บนเครือข่ายที่จัดวางไว้ให้เท่านั้น
โดยเครือข่ายนี้ยังสามารถที่จะใช้เพื่อช่วยในการจัดการ การโอนส่ง Bitcoin ให้กันได้ ซึ่งหากจะเรียกแล้ว มันก็คือเครือข่ายส่วนตัวของ Bitcoin นั่นเอง
ถ้างั้น Bitcoin ก็สามารถถูกสร้างขึ้นมาแบบมีจำกัดใช่หรือไม่?
ใช่แล้ว ด้วยการมีอยู่ของระบบ Bitcoin โพรโตคอล ซึ่งเปรียบเสมือนกับผู้คุมกฏแห่งเครือข่าย Bitcoin ได้กล่าวไว้ว่า Bitcoin จะสามารถที่จะถูกผลิตขึ้นมาได้เพียงแค่ 21 ล้าน Bitcoin เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เจ้า Bitcoin พวกนี้สามารถที่จะถูกแบ่งออกเป็นจำนวนย่อยๆได้ (โดยหน่วยที่เล็กที่สุดของ Bitcoin คิดเป็นหนึ่งร้อยล้านต่อ 1 Bitcoin โดยหน่วยนี้ถูกเรียกว่า “ Satoshi ” เพื่อเป็นเกียรติให้กับผู้สร้าง Bitcoin )
ราคา Bitcoin ถูกอ้างอิงจากอะไร
หน่วยเงินที่เราคุ้นเคยกันดีนั้นมักจะถูกนำมาผูกติดกับราคาของทองหรือเงิน โดนทฤษฎีแล้ว ถ้าคุณเดินไปซื้อทองที่ร้านทองด้วยเงินบาท คุณก็จะได้ทองกลับบ้าน แต่ในขณะเดียวกัน Bitcoin นั้นไม่ได้ถูกอ้างอิงกับทอง แต่ถูกอ้างอิงด้วยสมการทางคณิตศาสตร์
ผู้คนทั่วโลกกำลังใช้ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการถอดสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อผลิต Bitcoin โดยสูตรทางคณิตศาสตร์เหล่านี้มีอยู่ให้หาได้แบบไม่คิดเงิน ทำให้แม้แต่คุณก็สามารถเข้าไปตรวจเช็คได้แบบฟรีๆ
โดยซฟอต์แวร์ที่ว่านั้นเป็นระบบ open source แปลว่าทุกคนสามารถที่จะตรวจสอบความโปร่งใสได้
ปัจจุบันมีเหรียญ Cryptocurrency โผล่มาบนตลาดมากกว่า 800 เหรียญ และดูเหมือนว่าจะยังคงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในทุกๆเดือน ทว่าเหรียญบางตัวก็น่าสนใจ แต่เหรียญบางตัวก็ดูเหมือนว่าจะเป็นพวกเหรียญ SCAM หรือ หลอกลวง
Stable Coin คืออะไร ?
หากให้อธิบายสั้น ๆ Stable Coin คือ Cryptocurrency ประเภทหนึ่งที่จะคงราคาของมันไว้อย่างคงที่ตลอดเวลา ตรงกันข้ามกับคริปโตปกติที่ราคาของมันมีความผันผวนตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น USDT เป็น Cryptocurrency ที่เคลมว่ามีเงินดอลลาร์ค้ำอยู่ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 และถูกออกแบบมาเพื่อมีมูลค่า 1 USDT เท่ากับ 1 ดอลลาร์ตลอดเวลา
ในปัจจุบัน Stable Coin ในอุตสาหกรรมคริปโตมีมากมายหลายเหรียญไม่ใช่เพียง USDT สกุลเดียว ไม่ว่าจะเป็น TrueUSD หรือ TUSD หรือ DAI โดยแต่ละเหรียญนั้นก็มีการทำงานที่แตกต่างกันออกไป เพื่อส่งเสริมความน่าเชื่อถือของเหรียญตนเอง
ยกตัวอย่างเช่น TUSD จะมีจะถือเงินดอลลาร์ค้ำอยู่โดยบริษัทที่ได้รับการ KYC แล้ว ซึ่งสามารถแลกโทเคนกลับเป็นเงินได้ และ DAI จะถือทรัพย์สินดิจิทัลค้ำประกันอยู่แทน โดยทั้งหมดมีจุดประสงค์ที่มีอะไรมาค้ำประกันก่อนที่จะสร้างโทเคนขึ้น
Stable Coin มีหน้าที่อะไร ?
Stable Coin มีหน้าที่หลัก ๆ คือการรักษามูลค่าของเงินที่เราฝากไว้ เนื่องจากปกตินั้นเว็บเทรดคริปโตจะไม่มีคู่เทรดสำหรับเงิน Fiat ทำให้เวลาที่นักลงทุนอยากรักษามูลค่าของเหรียญไว้ จำเป็นต้องเลือกแลกเป็นคริปโตที่มีความผันผวนน้อย ซึ่งในตลาดคริปโตแล้วเป็นไปได้ยากมาก เลยมีโทเคน USDT ถือกำเนิดขึ้นมาแทนที่เงินดอลลาร์
เมื่อนักลงทุนอยากถือเงินดอลลาร์ไว้เฉย ๆ ในเว็บเทรดที่ไม่มีคู่เงิน Fiat พวกเขาแค่ทำการแลกคริปโตเป็น USDT หรือ Stable Coin อื่น ๆ ทำให้พวกเขาสามารถลดความเสี่ยงของการผันผวนได้ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ในเวลาที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะซื้อคริปโตตัวไหนดี หรือเป็นที่พักเงินในกรณีที่นักลงทุนคาดว่าตลาดจะเข้าสู่ขาลงเลยทำการขายเป็น Stable Coin ไว้ก่อน
Stable Coin ในไทย
อ้างอิงจาก SiamBlockchain* เว็บเทรดในไทยนาม Cash2Coins ได้สร้าง Stable Coin ของพวกเขาขึ้นมาเหมือนกันนาม Thai Baht Digital หรือ TBD ซึ่งทำหน้าที่คล้าย USDT แต่เป็นเงินบาทแทนเงินดอลลาร์ หลังจากที่เปิดตัวเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า TBD ถูกนำมาใช้งานจริงหรือไม่อย่างไร และในเวลาต่อมาดูเหมือนว่าจะไม่มีเว็บเทรดคริปโตในไทยเว็บไหนรายงานว่า นำ Stable Coin ดังกล่าวมาใช้แต่อย่างใด
ความน่าเชื่อถือของ Stable Coin
หลาย ๆ คนอาจมีคำถามว่า ที่โปรเจกต์เหล่านั้นเคลมว่ามีสินทรัพย์ค้ำอยู่นั้น เป็นเรื่องจริงหรือไม่ เช่น USDT ที่เคลมว่านำเงินดอลลาร์ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 มาค้ำก่อนที่จะสร้างโทเคนขึ้นมา แต่จะผู้อื่นจะทราบได้อย่างไรว่า มีเงินดอลลาร์ค้ำประกันอยู่จริง ๆ ไม่ใช่สร้างขึ้นมาเฉย ๆ ซึ่งในอดีตไม่มีใครสามารถตรวจสอบได้ ทำให้มีประเด็นภายในชุมชนคริปโตถึงคริปโตว่า USDT นั้นถูกสร้างขึ้นมาโดยไม่มีอะไรมาค้ำประกัน
ถึงแม้ว่าในเดือนที่ผ่านมา Tether หรือ USDT จะถูกตรวจสอบแล้วว่าจะมีเงินดอลลาร์ค้ำอยู่จริง ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นการตรวจสอบอย่างไม่เป็นทางการ โดยบริษัทกฎหมายเป็นผู้ตรวจสอบ แต่ในความเป็นจริงแล้วต้องให้บริษัทด้านการตรวจสอบเป็นผู้ตรวจสอบถึงจะถูกตามหลักการ เลยส่งผลให้ความสงสัยภายในวงการคริปโตยังไม่หายไปดี
ระยะเวลาก่อนที่ทาง Tether จะถูกตรวจสอบนั้นถูกทิ้งไว้นานหลายเดือนก่อนได้รับการพิสูจน์ ซึ่งในช่วงระยะเวลานั้นไม่มีอะไรมารับรองว่า Tether มีเงินดอลลาร์ค้ำอยู่จริง ในช่วงนั้น Tether อาจสร้าง USDT ขึ้นมาเฉย ๆ และนำไปช้อน Bitcoin ในช่วงที่ราคาตก และขาย Bitcoin เป็น USDT ในช่วงที่ราคามันทะยานขึ้น และค่อยให้บริษัทอื่นมาตรวจสอบตอนที่พวกเขามีเงินดอลลาร์จากการกำไรที่ได้รับจากเงินที่สร้างขึ้นมาเปล่า ๆ ของพวกเขาก็เป็นได้
Stable Coin เป็นหนึ่งในสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในอุตสาหกรรมคริปโต หากไม่มีเหรียญเหล่านั้น ก็เปรียบเสมือนไม่มีสถานที่ที่ปลอดภัยให้นักลงทุนสามารถพักเงินของพวกเขาไว้ได้เลย อย่างไรก็ตาม Stable Coin เช่น USDT จำเป็นต้องมีวิธีในการพิสูจน์ว่าโทเคนนั้น ๆ มีเงินหรือสินทรัพย์ค้ำอยู่จริง ๆ โดยสามารถพิสูจน์ได้ตลอดเวลา จึงจะสามารถสร้างความน่าเชื่อให้กับนักลงทุนส่วนใหญ่ได้