ประกันอัคคีภัย ประกันไฟไหม้ Fire Insurance

ประกันธุรกิจจะคุ้มครองอัคคีภัยเป็นภัยหลัก ความแตกต่างของแต่ละแพกเกจอยู่ในส่วนความคุ้มครองที่แอดเพิ่มเติมขึ้นมา เช่น โจรกรรม, ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก, ชดเชยการเสียรายได้, เงินสด... etc ข้อมูลที่ต้องจัดเตรียม ~> ประเภทสิ่งปลูกสร้าง: วัสดุที่ใช้ปลูกสร้าง: ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง: กี่ตร.ม. สำคัญ: พื้นที่หน่วยเป็น ตร.ม. (ตารางเมตร) ไม่ใช่ตารางวา ทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้างรวม? กี่บาท ทรัพย์สินภายใน ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์, สิ่งตกแต่ง, สต็อกสินค้า
 
 
Cr.Allianz Ayudhya
 
‘ประกันภัยบ้าน’ หรือชื่อเต็มๆ คือ ‘ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย’ ที่มีหลายแผนให้เลือกซื้อครอบคลุมและตอบโจทย์ทุกความต้องการ ต่างกันที่ราคา วงเงินความคุ้มครอง และความคุ้มครองเพิ่มเติมที่ซื้อเพิ่มได้ โดยทั่วไป ประกันภัยบ้านจะให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เป็นสิ่งปลูกสร้าง ตัวบ้าน (ไม่รวมรากฐาน หรือ โครงสร้างที่อยู่ใต้ดิน) คอนโด แฟลต กำแพง รั้ว ประตู โรงจอดรถ ส่วนปรับปรุงต่อเติมอื่นๆ และสามารถซื้อความคุ้มครองทรัพย์สินเพิ่มได้ด้วย

เราพอจะรู้กันอยู่แล้วว่าประกันภัยบ้านไม่ได้คุ้มครองแค่ไฟไหม้ (เหมือนที่เราติดเรียกกันว่าประกันอัคคีภัย) แต่พอพลิกดูเงื่อนไข กลับเจอรายละเอียดเพียบ แล้วอย่างนี้ เคสต่างๆ ในบ้าน ถ้าเกิดพลิกล็อกขึ้นมา ประกันที่มีคุ้มครองได้แค่ไหน

ประกันภัยบ้านคุ้มครองอะไร?

โดยทั่วไป ประกันภัยบ้านจะให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เป็นสิ่งปลูกสร้าง ตัวบ้าน (ไม่รวมรากฐาน หรือ โครงสร้างที่อยู่ใต้ดิน) คอนโด แฟลต กำแพง รั้ว ประตู โรงจอดรถ ส่วนปรับปรุงต่อเติมอื่นๆ ตามความเสียหายที่เกิดจากภัยต่างๆ เช่น ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ไฟฟ้าลัดวงจร ระเบิด ภัยจากการเฉี่ยวชนของยานพาหนะ และสัตว์พาหนะ ภัยจากอากาศยาน วัตถุที่ตกจากอากาศยาน รวมจรวด และยานอวกาศ! 

รวมถึงภัยจากน้ำ (เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ เคสน้ำรั่วซึม เป็นต้น) และภัยธรรมชาติ (น้ำท่วม น้ำป่า โคลนถล่ม ลม พายุ แผ่นดินไหว ลูกเห็บ โดยข้อนี้บริษัทประกันจะชดใช้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ในวงเงินรวมกัน (กับภัยธรรมชาติอื่นๆ) ไม่เกิน 20,000 บาท/ต่อปี ตามความรับผิดชอบสูงสุดที่กฎหมายกำหนด

แต่นอกจากเคสเหล่านี้ ยังมีสารพัดภัยพลิกล็อกที่เกิดขึ้นรายวัน แต่คนส่วนใหญ่มักไม่แน่ใจว่าประกันภัยบ้านที่ทำไว้ ให้ความคุ้มครองเคสแบบนี้ไหม เช่น

Home-Assistant

แก๊สรั่ว แก๊สระเบิด

คุ้มครอง กรณีเป็นแก๊สที่ใช้ในครัวเรือน หรือใช้ทำอาหารเกิดระเบิด เพราะเป็นความเสียหายจากอุบัติเหตุ และความเสี่ยงภัยทุกชนิดที่ไม่ได้เป็นเหตุที่อยู่ในข้อยกเว้นในกรมธรรม์ 

แต่ไม่คุ้มครอง ถ้าเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (เช่น จงใจให้เกิดความเสียหาย ลืมปิดแก๊สที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ) ของผู้เอาประกัน คนในครอบครัว หรือลูกจ้าง รวมถึงกรณีเกิดจากระเบิดของวัตถุระเบิดรถ หรือเกิดจากเหตุความไม่สงบ การก่อการร้าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและสถานการณ์ขณะนั้น 

Home-Assistant

หม้อไฟฟ้าช็อตในคอนโด ควันฟุ้งจนสปริงเกอร์ดูดจับควันทำงาน ห้องเปียก เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายหมด

คุ้มครอง กรณีไฟไหม้ เกิดควันไฟ สปริงเกอร์ทำงาน 

แต่ไม่คุ้มครอง กรณีที่สปริงเกอร์เกิดขัดข้อง เสื่อมสภาพ หรือปล่อยน้ำเอง ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ยกเว้นความเสียหายของทรัพย์สินเอาประกันภัยที่ตามมา เช่น สปริงเกอร์เสื่อมสภาพ ปล่อยน้ำออกมาเอง แล้วทำให้พื้นเสียหาย กรมธรรม์ให้ความคุ้มครองพื้นซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เอาประกันกัย แต่ไม่คุ้มครองสปริงเกอร์ที่เสื่อมสภาพ   

Home-Assistant

คนขับรถพุ่งชนกำแพง/ประตูรั้ว/บ้านเราพัง 

คุ้มครอง เพราะความเสียหายจากการเฉี่ยวชนของยานพาหนะ หรืออุบัติเหตุจากคนภายนอกมาทำความเสียหายให้บ้านของเรา 

แต่ไม่คุ้มครอง กรณีผู้ขับขี่ยานพาหนะเป็นคนในครอบครัว คนที่อยู่อาศัยในบ้านหลังนั้นด้วย หรือ ผู้เอาประกันภัยขับรถชนบ้านตัวเอง เพราะเป็นข้อยกเว้นในกรมธรรม์

Home-Assistant

ต้นไม้โค่นล้ม ทับบ้านพัง 

คุ้มครอง กรณีเกิดลมพายุพัดหลังคาบ้านปลิว หรือลมพายุพัดต้นไม้หักล้มทับบ้านเรา ไม่ว่าเหตุจะเกิดจากต้นไม้บ้านเราหรือบ้านอื่นก็ได้รับความคุ้มครองตัวบ้าน 

แต่ไม่คุ้มครอง ตัวต้นไม้ ยกเว้น ได้มีการระบุไว้ชัดเจนในกรมธรรม์ว่าเป็นทรัพย์สินที่เอาประกันภัย เช่น เป็นงานภูมิสถาปัตย์ ก็จะได้รับความคุ้มครอง

ช้างป่าบุกบ้าน พังครัวหาของกิน 

คุ้มครอง เพราะเป็นความเสียหายจากการเฉี่ยวชนของสัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย 

เครื่องบินชำรุด สัมภาระที่อยู่ภายในตกลงมาโดนหลังคาบ้านเราเสียหาย 

คุ้มครอง เพราะเป็นภัยที่มาจากอากาศยาน วัตถุที่ตกจากอากาศยาน รวมถึงจรวดที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองและยานอวกาศด้วย แต่ยกเว้นจรวดที่เป็นอาวุธ

คนทะเลาะกัน มีการขว้างปาของ ให้บ้านเราได้รับความเสียหาย 

ไม่คุ้มครอง เพราะไม่ได้เกิดจากภัยที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งมีข้อยกเว้นเรื่องการทะเลาะวิวาท 

สำหรับทรัพย์สินอื่นๆ ที่ต้องการซื้อความคุ้มครองเพิ่ม เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องครัว อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมูลค่าสูง รวมถึงเงินสด ทอง เอกสารสำคัญ จะต้องเลือกแบบประกันที่สามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ ทรัพย์สินที่ได้รับความคุ้มครองจะต้องระบุไว้ในกรมธรรม์อย่างชัดเจน และควรเก็บใบเสร็จรับเงินของทรัพย์สินนั้นๆ ไว้ เพื่อความสะดวกในการซื้อวงเงินคุ้มครองเพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อประโยชน์เพื่อการเรียกค่าสินไหมทดแทนด้วย

และเพื่อประโยชน์สูงสุด ควรทำประกันภัยบ้านให้ครอบคลุมมูลค่าจริงของบ้านและทรัพย์สิน ไม่ควรทำเกินมูลค่า หรือต่ำกว่า 70% ของมูลค่าทรัพย์สิน เพราะเมื่อเกิดเหตุขึ้นมา การชดใช้ค่าเสียหายจะจ่ายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง กรณีทำเกินมูลค่าทรัพย์สินที่แท้จริง ณ วันที่เกิดเหตุ ซี่งจะทำให้เสียค่าเบี้ยประกันภัยโดยไม่จำเป็น หรือได้รับการชดใช้ตามสัดส่วนเฉลี่ยกรณีทำต่ำกว่า 70% ของมูลค่าทรัพย์สินที่แท้จริง ณ วันที่เกิดเหตุ

Cr.Allianz Ayudhya

ประกันภัยบ้านที่เคลมกันบ่อยๆช่วงหน้าฝน Click*มาดูกัน

 *ตัวอย่างเอกสารระบุรายละเอียดสำหรับทำประกันภัย
 
 
 
 
 
Visitors: 91,197