T F E X

“TFEX” ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการลงทุน เพราะนอกจากจะใช้เงินลงทุนน้อยแล้ว ยังสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง นอกจากนั้นยังสามารถนำมาป้องกันความเสี่ยงของราคาสินทรัพย์อ้างอิงได้อีกด้วย

ตราสารอนุพันธ์ใน TFEX คืออะไร ?

ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) คือ ตราสารทางการเงินที่ราคาของตราสารขึ้นกับราคาของสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) อนุพันธ์ที่ซื้อขายใน TFEX มี 2 ประเภท ได้แก่ Futures (สัญญาซื้อขายล่วงหน้า) และ Options (สิทธิในการซื้อหรือสิทธิในการขาย)

ในปัจจุบัน 2022

บมจ. ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ ได้เปิดซื้อขายอนุพันธ์ทั้งสิ้น 12 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ SET50 Index FuturesSET50 Index OptionsSingle Stock FuturesSector Index FuturesGold Online FuturesGold Futures (10 Baht และ 50 Baht)Gold-DSilver Online FuturesJapanese Rubber FuturesRubber Futures (RSS3D Futures เเละ RSS3 Futures)USD Futures และ Interest Rate Futures

1

**สินค้าอ้างอิงที่นิยมเทรดกันมากที่สุดก็คือ SET50 Index Futures**

ลักษณะสำคัญของการซื้อขายอนุพันธ์ในตลาด TFEX

  • สามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง

ถ้าเรามองว่าราคาสินค้าอ้างอิงจะขึ้นให้เปิดสถานะ “ซื้อ” (Long Open) แต่ถ้ามองว่าราคาสินค้าอ้างอิงจะลงให้เปิดสถานะ “ขาย” (Short Open)

2

เมื่อราคามาถึงระดับที่เราพอใจแล้ว ให้ทำการปิดสถานะสัญญา โดยการปิดสถานะสัญญาสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ส่งคำสั่งสถานะตรงกันข้ามกับที่ได้เปิดสัญญาเอาไว้

3

เช่น เปิดสัญญาซื้อหรือ Open Long S50J16 เอาไว้ ก็ต้องปิดสัญญาขาย หรือ Close Short S50J16 เป็นต้น

  • สัญญา Futures มีวันหมดอายุ  

ดังนั้นก่อนการลงทุนในแต่ละสัญญาต้องคำนึงถึงสภาพคล่องในการซื้อขายด้วย ซึ่งต่างกับการซื้อหุ้นสามัญที่ไม่มีวันหมดอายุ

4

เช่น S50M16 หมายถึง สัญญา Futures อ้างอิงดัชนี SET50 Index ที่ครบอายุสัญญาเดือนมิถุนายน ปี 2016

  • วางหลักประกันก่อนการซื้อขายและการรักษาเงินประกันเพื่อป้องกันการผิดนัดสัญญา

ต้องวางหลักประกันขั้นต้น ก่อนการซื้อขายทุกครั้ง

กรณีเปิดสัญญาข้างเดียว (Outright)

1

เช่น ถ้าจะซื้อ (Long) PTT Futures 1 สัญญาจะต้องวางหลักประกัน 24,700 บาท

กรณีเปิดสัญญาคู่สเปรด (Spread)

ปัจจุบันระดับหลักประกันสัญญาคู่สเปรด 1 คู่ จะเท่ากับ 25% ของหลักประกันสัญญาข้างเดียว 1 สัญญา

2

หลักประกันสัญญาคู่สเปรดจะนำมาใช้เมื่อมีฐานะในการลงทุนซื้อและขายในฟิวเจอร์สที่ส่งมอบต่างเดือนกัน

เช่น ซื้อ(Long) S50J16 และขาย(Short) S50K16

  • มีอัตราเพิ่มของเงิน (Leverage) 

หมายถึง ใช้เงินลงทุนน้อยแต่มีโอกาสทำกำไรหรือขาดทุนในเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าการลงทุนปกติ

3

จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าด้วยเงินลงทุนที่เท่ากัน หากคาดการณ์ตลาดได้ถูกต้อง การลงทุนใน Futures จะสามารถทำกำไรได้ถึง 10 เท่า แต่ในทางตรงกันข้ามหากคาดการณ์ตลาดผิดก็มีโอกาสขาดทุน 10 เท่าเช่นเดียวกัน

  • มีกระบวนการปรับมูลค่าตามราคาตลาด Mark – to – Market ทุกสิ้นวัน

โดยโบรกเกอร์จะคิดกำไรขาดทุนทุกสิ้นวันทำการ  หากมีผลกำไรในวันนั้นเมื่อเทียบกับวันก่อนหน้าโบรกเกอร์จะโอนเงินส่วนกำไรเข้าไปรวมกับเงินหลักประกันที่วางเอาไว้ แต่หากมีผลขาดทุนในวันนั้นเมื่อเทียบกับวันก่อนหน้า โบรกเกอร์ก็จะตัดเงินส่วนขาดทุนออกจากบัญชีหลักประกัน

25

หน้าตาโปรแกรม Streaming (สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ทั้งหุ้นและอนุพันธ์)

2.1

** สำหรับท่านที่มีบัญชีอนุพันธ์แล้ว สามารถเลือกคำสั่งซื้อขายบัญชีอนุพันธ์์ได้ โดยเลือกตรง A/C เป็น Derivativesได้เลย**

ความหมายของเมนูที่ใช้ส่งคำสั่ง

2.21. Line = วงเงินที่ได้รับในการซื้อขายอนุพันธ์

2. EE = เงินส่วนที่เหลือหลังหักเงินประกันจากการเปิดสัญญาไปแล้ว สามารถนำเงินส่วนนี้มาเปิดสถานะเพิ่มได้

3. Equity = เงินของลูกค้าที่มีอยู่ทั้งหมด หลังหักผลกำไร/ขาดทุนแล้ว

2.3

4. รูปแบบคำสั่ง 4 แบบ

  • กรณีต้องการเปิดสถานะสัญญา
    • ต้องการเปิดสถานะฝั่งซื้อ (มองราคาขึ้น) เลือก Long + Open
    • ต้องการเปิดสถานะฝั่งขาย (มองราคาลง) เลือก Short + Open
  • กรณีต้องการปิดสถานะสัญญา
    • เดิมมีสถานะซื้อ (Long) สามารถปิดสถานะโดย เลือก Short + Close
    • เดิมมีสถานะขาย (Short) สามารถปิดสถานะโดย เลือก Long + Close

5. ประเภทของราคา (Price Type)

  • Limit ส่งคำสั่งซื้อขายตามราคาที่กรอกในช่อง Price
  •  ATO ส่งคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาเปิด
  • Market Order เป็นคำสั่งซื้อขายที่ใช้เมื่อผู้ลงทุนต้องการซื้อหรือขายทันที ณ ราคาที่ดีที่สุดในขณะนั้น โดยมี 3 ประเภท ดังนี้
    • MP จับคู่คำสั่งทันที ณ ราคาที่ดีที่สุด ณ ขณะนั้น (จับคู่ได้มากกว่า 1 ระดับราคา) หากจับคู่ไม่หมด ระบบจะส่ง Limit order ณ ราคาที่ดีกว่า Last Traded Price 1 tick
    • MP MKT จับคู่คำสั่งทันที ณ ราคาที่ดีที่สุด ณ ขณะนั้น (จับคู่ได้มากกว่า 1 ระดับราคา) หากจับคู่ไม่หมด ระบบจะยกเลิกที่เหลือให้อัตโนมัติ
    • MP MTL จับคู่คำสั่งทันที ณ ราคาที่ดีที่สุด ณ ขณะนั้น (จับคู่ระดับราคาเดียว) หากจับคู่ไม่หมด ระบบจะส่ง Limit order ที่ราคาเท่ากับ Last

ตัวอย่างการจับคู่ซื้อขาย  ส่งคำสั่งขายประเภท Market Order 80 สัญญา

2.4

กรณีส่งคำสั่ง MP (Special Market Order)

จับคู่ 77 สัญญา (55 สัญญา @ 886.0 และ 22 สัญญา @ 885.9)

ส่วนที่เหลือระบบจะตั้งเป็น Limit Order 3 สัญญา @ 885.8

กรณีส่งคำสั่ง MP-MKT (Market Order)

จับคู่ 77 สัญญา (55 สัญญา @ 886.0 และ 22 สัญญา @ 885.9)

ส่วนที่เหลือ 3 สัญญา ระบบจะยกเลิกให้ทันที

กรณีส่งคำสั่ง MP-MTL (Market to Limit Order)

จับคู่ 55 สัญญา @ 886.0

ส่วนที่เหลือระบบจะตั้งเป็น Limit Order 25 สัญญา @ 886.0

6. Validity

  • Auction คำสั่งซื้อขายจะ expire ทันทีที่เข้าช่วง Pre-open ถัดไป
  • Auto-M ส่งคำสั่งในช่วง Pre-Open เท่านั้น โดยจะจับคู่ที่ราคาเปิด หากจับคู่ไม่หมดคำสั่งจะถูก cancel
  • Cancel คำสั่งซื้อขายจะ expire หลังจากที่ Series นั้น ๆ หมดอายุแล้ว
  • Date คำสั่งซื้อขายจะ expire หลังจบ Afternoon Session ของวันที่กำหนด
  • Day คำสั่งนั้นจะมีผลไปจนกว่าจะหมดวัน
  • FOK คำสั่งซื้อขายจะถูกจับคู่ทันที แต่หากจับคู่ตามจำนวนที่กำหนดไม่ได้ ให้ยกเลิกคำสั่งทั้งหมดทันที
  • IOC คำสั่งซื้อขายจะถูกจับคู่ทันทีตามจำนวนที่สามารถจับคู่ได้ โดยส่วนที่เหลือจะถูก Cancel
  • Session คำสั่งซื้อขายจะ expire ทันทีที่ถึง Session ที่กำหนดแบบวันต่อวัน
  • Time คำสั่งซื้อขายจะ expire ทันทีที่ถึงวันและเวลาที่กำหนด

จะดูรายละเอียดของสัญญาได้ที่ไหน??

หากท่านต้องการดูรายละเอียดของสัญญานั้น ๆ สามารถดูได้ดังนี้

  • เข้าเมนู Quote และ คลิก Intraday ซึ่งในหน้านี้จะแจ้งข้อมูลการซื้อขาย รวมถึงข้อมูลการซื้อขายวันสุดท้าย

2.5

2.6

 โดน Call Margin ต้องทำอย่างไร? ต้องเติมเงินมั้ย? จำนวนเงินเท่าไหร่?

เนื่องจากการลงทุนใน TFEX นอกจากการนำเงินมาวางเป็นหลักประกันก่อนการซื้อขายแล้ว เรายังต้องรักษาระดับหลักประกันให้อยู่เกณฑ์ที่กำหนดอีกด้วย แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ระดับหลักประกันต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดล่ะ จะทำอย่างไร!? 

รู้ได้อย่างไรว่าโดน Call Margin ??

ดูได้จากหน้าจอ Streaming เลือกหัวข้อ Portfolio ถ้าหลักประกัน (Equity) ลดลงต่ำกว่า จะปรากฎจำนวนเงินที่ต้องเติม

8

9

Equity คือเงินที่มีอยู่ทั้งหมด หลังหักผลกำไร/ขาดทุนแล้ว

EE (Excess Equity) เป็นเงินส่วนที่เหลือหลังหักเงินประกันจากการเปิดสัญญาไปแล้ว สามารถนำเงินส่วนนี้มาเปิดสถานะเพิ่มได้

MR หลักประกันขั้นต้น ที่ต้องมีก่อนเปิดสถานะสัญญา

MM (Maintenance Margin) หลักประกันรักษาสภาพ ตลอดเวลาที่ถือสัญญาจะต้องมีเงินมาวางไม่ต่ำกว่าระดับนี้ มิฉะนั้นจะถูกเรียกหลักประกันเพิ่ม “Margin Call”

Force หลักประกันบังคับดำเนินการ ถ้า Equity ต่ำกว่าระดับนี้จะถูกบังคับปิดสถานะ หรือต้องนำเงินมาวางเพิ่มภายในวัน

 กรณีที่ 1 กรณีที่ Equity < MM

ณ สิ้นวันที่มีการเปิดสัญญา (วันที่ T) หาก Equity ลดลงต่ำกว่าระดับ MM จะถูกเรียกเงินประกันเพิ่มเท่ากับยอด MC (Margin Call) เพื่อทำให้ Equity กลับมาเท่ากับระดับ MR ภายใน 15.55 น. ของวันทำการถัดไป (วันที่ T+1)

10

สามารถดำเนินการได้ในวันที่ T+1 ก่อน 15.55 น. ดังนี้

1 นำเงินมาวางเป็นหลักประกันเพิ่ม หรือ ปิดสถานะ

2 ปิดสถานะบางส่วนและนำเงินมาวางเป็นหลักประกันเพิ่มบางส่วน

หากไม่ดำเนินการให้ทันตามเวลาดังกล่าว จะถูกดำเนินการดังนี้

1 ถูก Lock Open (ไม่ให้เปิดสถานะเพิ่ม)

2 ถูกบังคับปิดสถานะภายใน 10:45 น. ของวันที่ T+2

 * หมายเหตุ หากรอจนวันที่ T+2 แล้วตลาดปรับตัว ทำให้ Equity > MM แต่ท่านยังคงมีภาระที่ต้องดำเนินการข้างต้นอยู่

ตัวอย่าง (กรณีที่ 1)

8

นาย ก. วางหลักประกันขั้นต้น จำนวน 100,000 บาท เพื่อเปิดสถานะสัญญาซื้อ SET50 Index Futures หรือ Open Long S50M16 จำนวน 10 สัญญา ที่ 890 จุด ณ สิ้นวัน SET50 Index Futures ลดลงเป็น 865 จุด

ขาดทุนจากการ Mark to Market = [ (890 – 865)*200 ]*10 สัญญา = 50,000 บาท ทำให้บัญชีหลักประกันการซื้อขายสัญญาล่วงหน้า (Equity) ลดลงเป็น (100,000 – 50,000) = 50,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าระดับหลักประกันรักษาสภาพ (Total MM) ที่ 59,850 บาท

50

ทางโบรกเกอร์จะเรียกเก็บหลักประกันเพิ่ม (MC) = Total MR – Equity

= 85,500 – 50,000

= 35,500 บาท เพื่อให้กลับมาที่ระดับหลักประกันขั้นต้น 85,500 บาท

หมายเหตุ นาย ก. จะต้องวางเงินประกันเพิ่มให้ทันภายในวันที่ T+1 ก่อนตลาดอนุพันธ์ปิดทำการ1 ชั่วโมง (หรือภายใน 15.55 น. ของวันที่ T+1)

กรณีไม่ได้นำเงินมาวางภายในเวลาที่กำหนด

นาย ก. จะถูกบังคับปิดสถานะสัญญา เท่ากับ หลักประกันเพิ่ม  = MC / MR

= 35,500 / 8,550 = 4.15 สัญญา หรือประมาณ 5 สัญญา

 กรณีที่ 2  กรณีที่ Equity < Force

ในระหว่างปิดทำการภาคเช้า หาก Equity ลดลงต่ำกว่าระดับ Force จะถูกเรียกเงินประกันเพิ่มเท่ากับยอด MC เพื่อทำให้ Equity กลับมาเท่ากับระดับ MM ภายใน 15.55 น. ของวันที T

11

สามารถดำเนินการได้ ดังนี้

1 นำเงินมาวางเป็นหลักประกันเพิ่ม หรือ ปิดสถานะ

2 ปิดสถานะบางส่วนและนำเงินมาวางเป็นหลักประกันเพิ่มบางส่วน

หากไม่ดำเนินการให้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด

จะถูกบังคับปิดสถานะทันที

 * หมายเหตุ หากตลาดปรับตัวแล้วทำให้ Equity > Force แต่ท่านยังคงมีภาระที่ต้องดำเนินการข้างต้นอยู่

ตัวอย่าง (กรณีที่ 2)

8

นาย ง. วางหลักประกันขั้นต้น จำนวน 100,000 บาท เพื่อเปิดสถานะสัญญาซื้อ SET50 Index Futures หรือ Open Long S50M16 จำนวน 10 สัญญา ที่ 890 จุด ปรากฏว่าระหว่างวันราคา S50M16 อยู่ที่ 850 จุด

ขาดทุนจากการ Mark to Market แบบ Real-time = [( 890 – 850 )*200]*10 = 80,000 บาท ทำให้บัญชีหลักประกันการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าลดลงเป็น (100,000 – 80,000) = 20,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าระดับหลักประกัน Force ที่ 25,650 บาท

51

ทางโบรกเกอร์จะเรียกเก็บหลักประกันเพิ่ม (MC) = Total MM – Equity

= 59,850 – 20,000

= 39,850 บาท เพื่อให้กลับมาที่ระดับหลักประกันรักษาสภาพ 59,850 บาท

หมายเหตุ นาย ง. จะต้องวางเงินประกันให้ทันภายในวันที่ T ก่อนตลาดอนุพันธ์ปิดทำการ 1 ชั่วโมง (หรือภายใน 15.55 น. ของวันที่ T)

กรณีไม่ได้นำเงินมาวางภายในเวลาที่กำหนด

นาย ง. จะถูกบังคับปิดสถานะสัญญา เท่ากับ หลักประกันเพิ่ม  = MC / MM

= 39,850 / 5,985 = 6.65 สัญญา หรือประมาณ 7 สัญญา 

หลักประกันสองประเภทหลักๆ ที่ผู้ลงทุนควรให้ความสนใจก่อนซื้อขาย ได้แก่ หลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) และหลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin) เนื่องจากในการซื้อขายอนุพันธ์ ผู้ลงทุนต้องวางเงินประกันขั้นต้นตามระดับที่โบรกเกอร์อนุพันธ์กำหนดไว้ก่อนการซื้อขาย และหลังจากซื้อขายแล้ว โบรกเกอร์จะคำนวณกำไรขาดทุนให้ผู้ลงทุนทุกวันทำการ ทำให้เงินในบัญชีของผู้ลงทุนอาจเคลื่อนไหว เพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามราคาฟิวเจอร์สที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน

ทั้งนี้ อัตราหลักประกันที่โบรกเกอร์เรียกเก็บจากผู้ลงทุน จะใช้แนวทางที่ชมรมผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (FI Club) กำหนดใน มาตรฐานการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักประกันซึ่งปัจจุบันสำหรับผู้ลงทุนทั่วไปกำหนด 1.75 เท่า และ ผู้ลงทุนสถาบันกำหนด 1.35 เท่า ของอัตราที่ บริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Thailand Clearing House (TCH) กำหนด

“เงินประกันขั้นต้น” หรือที่เรียกว่า “เงินวางมาร์จิ้น” เป็นจำนวนเงินประกันขั้นต้นที่สำนักหักบัญชีหรือโบรกเกอร์กำหนดให้ผู้ลงทุนที่ซื้อขายฟิวเจอร์สต้องเพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ซื้อและผู้ขายจะไม่บิดพลิ้วจากการปฏิบัติตามภาระผูกพันของสัญญา โดยผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีเงินในบัญชีอนุพันธ์มากกว่าอัตราที่กำหนดถึงจะสามารถเปิดสถานะได้ โดยแบ่งหลักประกันออกเป็น 3 ประเภท คือ

  • IM (Initial Margin) ที่เราเรียกว่า “เงินประกันขั้นต้น”หรือ “เงินวางมาร์จิ้น”  ที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีเงินในบัญชีอนุพันธ์กับโบรคเกอร์ก่อน โดยเงินวางมาร์จิ้นต้องมากกว่าอัตราที่กำหนดถึงจะสามารถเปิดสถานะได้ ซึ่งจำนวนเงินของหลักประกันขั้นต้นนั้น จะแตกต่างกันออกไปตามสินค้านั้นๆ โดยถูกจำนวนเงินของหลักประกันขั้นต้นจะถูกกำหนดโดยตลาดซื้อขายล่วงหน้า

    MM (Maintenance Margin) หลักประกันรักษาสภาพ คือ ระดับหลักประกันกันขั้นต่ำในบัญชี ซึ่งผู้ลงทุนจะต้องรักษาระดับยอดเงินคงเหลือเอาไว้ หากยอดเงินคงเหลือในบัญชีหลักประกันลดลงต่ำกว่าระดับนี้ (70% ของ IM) โบรคเกอร์จะเรียกให้ผู้ลงทุน”วางหลักประกันเพิ่ม” (Magin call) โดยต้องวางเพิ่มให้กลับไปเท่ากับ IM ในครั้งแรก

    FM (Force Margin) หลักประกันปิดสถานะ  เป็นระดับหลักประกันที่ต่ำที่สุด (30% ของ IM)  คือ กรณีที่ถูก “Force Margin” หากนักลงทนไม่วางหลักประกันเพิ่มภายในระยะเวลาที่บริษัทกำหนด ก็จะถูกบังคับปิดสถานะ ที่นักลงทุนถืออยู่เพื่อให้หลักประกันคงเหลือไม่ต่ำไปว่าระดับ FM

    cr. BLS knowledge 
     
       นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จจากการลงทุนใน SET50 Index Futures ต่างให้ความสำคัญกับความผิดพลาดเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง นอกจากต้องมีหูตาที่ไวแล้ว ยังต้องมีวินัยและติดตามข้อมูลข่าวสารตลอดเวลา ดังนั้น หากต้องการประสบความสำเร็จในระยะยาว กฎ “4R Know” คือ หัวใจสำคัญของการลงทุน ที่นักลงทุนควรรู้     

    1.    Know Rule
    เป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องรู้ก่อนเข้ามาลงทุนในตลาดอนุพันธ์ เช่น ขั้นตอนการซื้อขายเป็นอย่างไร เปิดบัญชีที่ไหน ช่องทางข้อมูลข่าวสาร หุ้นที่นำมาคำนวณ เดือนที่สัญญาหมดอายุ ปัจจัยใดบ้างที่ต้องระมัดระวัง หรือปัจจัยใดบ้างที่นำมาเป็นข้อได้เปรียบในการซื้อขายได้ เป็นต้น 

    ตัวอย่าง กฎกติกาที่ต้องท่องให้ขึ้นใจ
    -  Margin ซึ่งมีอยู่ 2 ส่วน ประกอบด้วย Initial Margin (เงินวางขั้นต้น) คือ ระดับเงินประกันขั้นต้นที่นักลงทุนต้องมีในบัญชีซื้อขายอนุพันธ์ที่เปิดกับโบรกเกอร์ก่อน จึงจะส่งคำสั่งซื้อขายได้ และ Maintenance Margin (เงินวางประกันรักษาสถานภาพ) โดยนักลงทุนอาจถูกเรียกให้มาเติมเงิน (Margin Call) คือ การให้นำเงินมาวางเป็นหลักประกันเพิ่มขึ้น เพื่อให้ระดับเงินประกันในบัญชีกลับไปเท่ากับระดับเงินวางขั้นต้น
    -  Ceiling & Floor (ราคาสูงสุด ต่ำสุดในวันทำการซื้อขาย) นักลงทุนต้องรู้ว่า Ceiling & Floor แต่ละสินค้าในตลาดอนุพันธ์เป็นอย่างไร เช่น SET50 Index Futures จะมีราคาสูงสุดในวันทำการซื้อขายปรับขึ้นไม่เกิน 30% และราคาต่ำสุดปรับลดลงไม่เกิน 30% จากราคาเพื่อการชำระราคา (Daily Settlement Price) ของวันทำการก่อนหน้า (T-1) เช่น ถ้าราคาเพื่อการชำระราคาของวันทำการก่อนหน้าเท่ากับ 300 จุด ราคาสูงสุดที่สามารถซื้อขายได้ไม่เกิน 390 จุด และราคาต่ำสุดที่สามารถซื้อขายได้ไม่ต่ำกว่า 210 จุด ดังนั้น เมื่อนักลงทุนทราบ Ceiling & Floor ก็สามารถนำเงินเพื่อมาวางเป็นเงินขั้นต้นเพื่อที่จะซื้อขายได้
    -  การจำกัดฐานะ การซื้อขาย SET50 Index Futures ไม่ใช่ว่าจะทำได้ตามอำเภอใจ เพราะตามเงื่อนไขแล้ว นักลงทุนสามารถมีฐานะสุทธิรวมใน SET50 Index Futures และ SET50 Index Options เมื่อคำนวณฐานะเทียบเท่ากับฐานะใน SET50 Index Futures ในเดือนใดเดือนหนึ่ง หรือทุกเดือนรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 สัญญา 

    2.  Know Round 
    นักลงทุนต้องรู้กรอบระยะเวลาในการซื้อขายแต่ละครั้ง เช่น รอบวัน รอบสัปดาห์ หรือรอบเดือน เพราะ SET50 Index Futures สามารถซื้อขายได้จบภายในวันเดียว (Day Trade) หรือซื้อขายในระยะยาว (Run Trend) ได้ เช่น ถ้านักลงทุนมีความเชี่ยวชาญ มั่นใจว่าตัวเองคาดการณ์ทิศทางตลาดได้อย่างแม่นยำและมีการซื้อขายบ่อยครั้ง ขณะเดียวกันต้องการสร้างผลตอบแทนไม่มาก หรือที่เรียกกันว่า ชอบกินคำเล็ก ก็สามารถซื้อขายให้จบได้ภายในวันเดียว ส่วนผู้ที่คาดการณ์ทิศทางตลาดไม่ค่อยแม่นยำและไม่อยากซื้อขายบ่อยครั้ง ก็ต้องซื้อขายระยะยาว อาจกินเวลาเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน ซึ่งก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่เรียกว่า เน้นกินคำใหญ่ หรือในรอบที่มั่นใจจริง ๆ ดังนั้น ก่อนตัดสินใจลงทุนก็ต้องรู้จักสไตล์การลงทุนของตัวเอง เพื่อที่จะได้วางกลยุทธ์ให้เหมาะสมและเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทน

    3.  Know Risk 
    โดยส่วนใหญ่แล้วก่อนลงทุน นักลงทุนจะมองหาเรื่องผลตอบแทนเป็นอันดับแรก แต่หัวใจสำคัญที่ทำให้อยู่รอดและประสบความสำเร็จในระยะยาว คือ ความเสี่ยง แปลว่า หากละเลยความเสี่ยง อาจทำให้ขาดทุนหรืออาจถึงขั้นล้างพอร์ตลงทุนก็เป็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SET50 Index Futures ซึ่งเป็นสนามการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้น จึงยิ่งต้องคำนึงถึงความเสี่ยงก่อนผลตอบแทนเป็นหลัก

    และหากพูดถึงความเสี่ยงแล้ว จะมี 2 ส่วนหลัก คือ ความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเกิดจากจากปัจจัยภายนอก กับความเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ หรืออย่างน้อย ๆ ก็ทำให้ความเสี่ยงลดลง ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายใน ดังนั้น นักลงทุนต้องบริหารความเสี่ยงที่ควบคุมได้ โดยต้องลงมือทำทันที นั่นคือ ต้องมีจุดตัดขาดทุน (Stop Loss) ก่อนซื้อขายเสมอ เพราะถ้าปล่อยให้ขาดทุนไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีจุดตัดขาดทุน จะต้องสูญเสียเงินลงทุนอย่างหนัก แต่ถ้ามีจุดตัดขาดทุนก็จะลดความสูญเสียได้

    อย่าลืมว่าการลงทุนหากสูญเสียเงินลงทุนไปแล้ว การจะทำให้เงินลงทุนนั้นกลับมาเท่าทุนค่อนข้างยากกว่าเดิมมาก

    ตัวอย่าง เงินลงทุนเริ่มต้น 10,000 บาท
    Inv_เริ่มต้นลงทุน SET50 Index Futures ด้วยกฎ 4R Know_01
     จากตัวอย่าง แสดงถึงผลของการขาดทุนเงินลงทุนตั้งต้น เช่น สมมติว่าขาดทุน 1% ต้องลงทุนและให้ได้ผลตอบแทน 1.01% พอร์ตลงทุนจึงจะกลับมาเท่าเดิมหรือกลับมาเท่าทุน แต่ถ้าลงทุนแล้วขาดทุน 50% ต้องลงทุนและให้ได้ผลตอบแทนถึง 100% พอร์ตลงทุนจึงจะกลับมาเท่าเดิม และถ้าปล่อยให้ขาดทุนถึง 90% ต้องลงทุนและให้ได้ผลตอบแทน 900% เพื่อให้เงินลงทุนกลับมาเท่าเดิม ดังนั้น จุดตัดขาดทุน จึงมีความสำคัญมากต่อความอยู่รอดของพอร์ตลงทุน

     4. Know Risk & Reward Ratio

    กฎหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนประสบความสำเร็จในการลงทุนระยะยาว นั่นคือ การดูอัตราส่วนเพื่อพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุน โดยเปรียบเทียบผลตอบแทนที่คาดหวังกับผลขาดทุนที่อาจจะได้รับ ซึ่งจะเปรียบระหว่างความเสี่ยง (Risk) คือ มีโอกาสที่ราคาจะปรับลดลงถึงจุดที่ต้องตัดขาดทุน กับ ผลตอบแทนหรือกำไรที่คาดว่าจะได้ (Reward) ถ้าค่าของ Reward มากกว่าค่าของ Risk แสดงว่าคุ้มค่าที่จะทำการซื้อขาย

     สมมติว่าวันนี้ดัชนี SET50 Index อยู่ที่ระดับ 1,000 จุด และคาดว่าสัปดาห์หน้าจะปรับขึ้น จึงตัดสินใจเข้ามาซื้อ (Long) SET50 Index Futures โดยกำหนดกลยุทธ์ว่า ถ้าดัชนี SET50 Index ปรับขึ้น 20 จุด (1,020 จุด) จะขายทำกำไร แต่ถ้าคาดการณ์ผิด คือ ดัชนีปรับลดลง 5 จุด  (995 จุด) จะทำการตัดขาดทุน

     หมายความว่า มีจุดขายทำกำไรที่ดัชนีปรับขึ้นสู่ระดับ 1,020 จุด และจุดตัดขาดทุนเมื่อดัชนีปรับลดลงสู่ระดับ 995 จุด

    Risk = 5 (1,000 - 995), Reward = 20 (1,020 – 1,000) แปลว่า Reward มีค่ามากกว่า Risk ถือว่าคุ้มค่าที่จะลงทุน

     แต่ถ้ากำหนดจุดตัดขาดทุนเอาไว้ที่ดัชนี SET50 Index ปรับลดลงสู่ระดับ 975 จุด หมายความว่า Risk = 25 (1,000 - 975) จะทำให้มีค่า Risk มากกว่า Reward จึงไม่คุ้มค่าที่จะลงทุน  

     สำหรับระดับความเหมาะสมของ Risk & Reward Ratio ก็ขึ้นอยู่กับนักลงทุน เพราะแต่ละคนมีระดับความเสี่ยงและความพึงพอใจในการทำกำไรที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น จึงต้องหาจุดที่เหมาะสมที่สุดให้กับตัวเอง เพื่อจะทำให้การซื้อขายมีประสิทธิภาพมากที่สุด

     cr. setinvestnow.com

Visitors: 83,464