พรบ.รถยนต์ ภาษีรถยนต์ ประกันภัยรถยนต์ สัมพันธ์กันอย่างไร

พรบ.รถยนต์ ภาษีรถยนต์ ประกันภัย สัมพันธ์กันอย่างไร

 

*พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ ประกัน พ.ร.บ. คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ

ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 โดยกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้เจ้าของรถ ที่มีชื่อในเล่มทะเบียนรถยนต์หรือผู้ครอบครองรถในกรณีเป็นผู้เช่าซื้อรถ และต้องต่ออายุในทุก ๆ ปี นอกจากเป็นประกันภาคบังคับที่ผู้ใช้รถต้องทำอยู่แล้ว พ.ร.บ.รถยนต์ ยังเป็น 1 ในหลักฐานที่จำเป็นต่อการต่อภาษีรถยนต์ในทุก ๆ ปี ในกรณีที่ไม่ทำจะถือว่าทำผิดกฎหมาย ใจความสำคัญของประกัน พ.ร.บ. ก็คือ ต้องการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากการใช้รถ โดยไม่สนใจว่าบุคคลนั้นจะเป็นฝ่ายผิด หรือถูก หากเกิดความเสียหายขึ้น ผู้เสียหายก็จะได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้  เนื่องจากภาครัฐจะต้องคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยทุกคน ไม่ว่าจะบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เพื่อให้ได้รับการพยาบาลอย่างทันท่วงทีในกรณีที่บาดเจ็บ และเป็นค่าปลงศพในกรณีที่ผู้ประสบภัยเสียชีวิต

*นอกจากนี้ ยังถือเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาลอีกด้วยว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลจากผู้ที่ประสบเหตุจากรถยนต์ หรือที่เรียกว่า สวัสดิการสงเคราะห์ของรัฐบาลที่มอบให้ประชาชนที่ได้รับความเสียหายและครอบครัว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนนั่นเองครับ

นอกจากรถยนต์ที่ต้องทำและต่ออายุประกัน พ.ร.บ.ทุกปี ไม่ว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์ รถบรรทุก ต่างก็ต้องทำ พ.ร.บ. ด้วยด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งอัตราเบี้ยประกันภาคบังคับ จะเป็นอัตราเบี้ยคงที่ ไม่มีการเพิ่ม แต่ราคาจะแตกต่างกันไปตามประเภทและขนาดของรถ

การจ่ายค่าสินไหมทดแทนของประกันภาคบังคับ

     ปัจจุบัน มีบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ที่ถูกจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแห่ง พรบ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เข้ามาทำหน้าที่ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยแทนบริษัทประกันภัย โดยผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองนับตั้งแต่ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือแม้แต่คนเดินถนน หากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ที่มาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ จะได้รับการชดเชยค่าเสียหายที่แท้จริง  ในวงเงินคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นต่อคน เป็นเงินจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท โดยเป็นค่ารักษาพยาบาลตามการรักษาจริง ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อคน หากเกิดการเสียชีวิตหรือพิการและสูญเสียอวัยวะ จะได้รับการคุ้มครองในวงเงิน 500,000 บาท ตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ ไม่รวมกับค่าเสียหายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สิน

ความคุ้มครองเบื้องต้นของ พรบ.รถยนต์

     สำหรับผู้ที่ทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พรบ รถยนต์ หากประสบภัยที่เกิดจากรถยนต์ จะมีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นตาม พรบ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (จ่ายทันทีโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดใน 7 วัน) โดยหมายถึง ค่ารักษาพยาบาลและค่าความเสียหายต่อชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ ในวงเงินคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นต่อคน แบ่งเป็นค่ารักษาพยาบาลตามการรักษาจริง ไม่เกิน 30,000 บาท กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิตจะได้รับค่าชดเชยจำนวน 35,000 บาท ต่อคน อีกทั้งหากผู้ประสบภัย บาดเจ็บและเสียชีวิตหลังจากเข้ารักษาพยาบาลแล้ว จะได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 65,000 บาท ต่อคน

ซึ่งในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้ขับขี่นั้น จะยึดตามอัตรามาตรฐานกลางค่ารักษาพยาบาล โดยผู้ขับขี่รถที่เป็นฝ่ายกระทำผิดนั้น ได้ถูกกำหนดสิทธิโดยกฎหมายให้ได้รับเพียงค่าเสียหายเบื้องต้น เพราะกฎหมายฉบับนี้ให้การคุ้มครองต่อบุคคลที่ถูกกระทำเป็นหลักเท่านั้นครับ 

 

 *ป้ายภาษีรถยนต์

เชื่อว่าหนึ่งในเรื่องที่ทำให้คนขับรถต้องปวดหัวอยู่ตลอดก็คือ เรื่องภาษีรถยนต์ เพราะนอกจากจะสับสนกับ พรบ. รถยนต์ ที่ต่ออยู่ประจำทุกปีแล้ว ยังจะต้องเตรียมเงินและเอกสารต่างๆ ไปยื่นที่กรมขนส่งเพื่อต่อภาษีรถยนต์ หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่าต่อทะเบียนรถยนต์นั่นเอง แต่พอไปถึงกลับต้องจ่ายภาษีรถยนต์ที่แพงขึ้น ใครกำลังเจอปัญหาเกี่ยวกับภาษีรถยนต์และการต่อภาษีรถยนต์ วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบให้กับทุกคนกันว่า ภาษีรถยนต์ คืออะไร? และหากขาดการต่อภาษีรถยนต์จะเป็นอย่างไร

ป้ายภาษีรถยนต์ เป็นเอกสารสำคัญประจำรถ ที่จะได้รับมาก็ต่อเมื่อมีการชำระภาษีประจำปีเสร็จเรียบร้อย และเราจะต้องติดเอาไว้ที่หน้ารถเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถทำการตรวจสอบได้ หากไม่มีป้ายนี้ผู้ขับขี่จะได้รับโทษปรับ 400-1,000 บาท จำนวนเงินที่เราจะต้องจ่ายจะขึ้นอยู่กับประเภทรถที่เราครอบครอง ไม่ว่าเราจะใช้รถหรือไม่ก็ตามเราจะต้องจ่ายภาษีทุกปีไม่ให้ขาด เพราะถ้าหากไม่ต่อภาษีนานติดต่อกันเกิน 3 ปี จะทำให้ถูกระงับทะเบียนรถได้เลยทันที ซึ่งเราจะต้องไปจดทะเบียนใหม่ซึ่งก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยใช้เหตุ ตอนนี้เราสามารถที่จะชำระ ป้ายภาษีรถยนต์ออนไลน์ ได้แล้ว ทำให้มีความสะดวกมากขึ้น แถมยังสามารถทำได้ก่อนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน ทำให้ไม่มีรอยต่อระหว่างดำเนินการ และจะต้องทำ พ.ร.บ. ให้เสร็จก่อนด้วยถึงจะทำการต่อภาษีได้

ข้อควรรู้ในการต่อภาษีรถยนต์ โดยการต่อภาษีรถยนต์นั้นมีกฎระเบียบอยู่ ดังนั้นก่อนที่จะไปต่อภาษีรถยนต์ควรศึกษาข้อมูลและกฎระเบียบให้เข้าใจก่อน เพื่อที่จะได้สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ และนี่คือสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์    

1.การต่อภาษีรถยนต์แต่ละครั้งจะต้องทำการต่อภาษีรถยนต์ในปีที่หมดอายุ โดยคุณสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ก่อนวันที่จะหมดอายุล่วงหน้า 90 วัน ซึ่งก็มีเวลาเพียงพอให้คุณสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์ได้พอสมควร

2.โนกรณีที่ต่อภาษีรถยนต์ล่าช้ากว่าที่กำหนด ค่าปรับก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น โดยนับตั้งแต่วันที่ขาด 1 วันขึ้นไป ทางกฎหมายจะถือว่าเป็นการขาดต่อภาษีรถยนต์ ซึ่งนับเวลาตั้งแต่ 1-3 ปี จะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 % ต่อเดือน

3.โนกรณีที่ขาดต่อภาษีรถยนต์มากกว่า 3 ปีขึ้นไป จะถือว่าป้ายทะเบียนรถยนต์นั้นๆ ถูกยกเลิกทันที หากต้องการต่อภาษีรถยนต์ใหม่จะต้องนำป้ายทะเบียนเดิมไปคืนที่กรมขนส่งทางบก พร้อมกับชำระค่าปรับ จึงจะสามารถทำใหม่ได้

4.สำหรับการต่อภาษีรถยนต์ทุกครั้ง รถยนต์ที่มีอายุไม่ถึง 7 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อ แต่หากรถยนต์มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป จะต้องทำการตรวจสภาพรถให้ครบก่อน ถึงจะสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้

5.สิ่งสำคัญที่ห้ามลืมเด็ดขาดคือคุณจะต้องซื้อ/ต่อ พรบ.หรือที่เรียกว่าประกันภาคบังคับก่อน ถึงจะนำ พรบ.มาทำการต่อภาษีรถยนต์ได้ อภาษีรถยนต์

 ต่อภาษีรถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

1.คู่มือจดทะเบียนรถฉบับจริงหรือสำเนาก็ได้

2.หลักฐานที่ระบุไว้ว่าได้ทำประกันภัยตามที่กฎหมายบังคับ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า พ.ร.บ. รถยนต์

3.ใบรับรองการตรวจสอบสภาพรถยนต์ หากรถยนต์มีอายุเกินกว่า 5 ปีขึ้นไป รวมไปถึงในกรณีที่รถมีการดัดแปลงสภาพ

 

*การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance)

หมายถึง การประกันภัยที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจของเจ้าของรถยนต์ ผู้ครอบครองรถยนต์ หรือผู้ขับขี่รถยนต์ โดยไม่ได้เกิดจากการถูกบังคับโดยกฎหมายแต่อย่างใด เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวรถ หรือความรับผิดของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อบุคคลภายนอก ที่เราได้ยินกันทั่วๆไป เช่น ประกันภัยชั้นหนึ่ง ชั้นสองบวก สามบวก ซึ่งก็คือประกันภัยที่ทาง IC.Insurance Center ให้บริการอยู่นั่นเอง มองผ่านๆจะมีความคล้ายคลึงกับ พรบ. แต่สังเกตตรงกรมธรรม์ประกันภัยภาคสมัครใจจะมีระบุความคุ้มครองตัวรถยนต์ชัดเจนครับ

 

 

 

 

Visitors: 91,193